Page 11 -
P. 11
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4. ผลการวิเคราะห์
ผลการศึกษาแบ่งตามวัตุประสงค์ของงานวิจัย 2 ข้อ ดังนี้
1) การเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจสังคม การเกษตร การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน และผลกระทบของ
การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานต่อรายได้สุทธิของครัวเรือน ของหมู่บ้านซับเจริญ
ลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
การสัมภาษณ์ในปี 2552 และ ปี 2561 ท าให้ทราบว่า หมู่บ้านซับเจริญมีโครงสร้างเศรษฐกิจและ
สังคมเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ หมู่บ้านมีการพัฒนาเชิงโครงสร้างและสิ่งปลูกสร้าง เช่น การเข้าถึงน ้าใช้ มีศูนย์
แหล่งอาชีพ และมีการจัดตั้งเสาโทรศัพย์ เป็นต้น หมู่บ้านมีจ านวนครัวเรือนและจ านวนประชากรเพิ่มขึ้น
จาก 75 ครัวเรือน และสมาชิกครัวเรือน 292 คนในปี 2552 เป็นครัวเรือนจ านวน 83 ครัวเรือน สมาชิก
ครัวเรือนทั้งหมด 347 คน ในปี 2561 อาชีพหลักของคนในหมู่บ้านเปลี่ยนจากการท าเกษตรของตนเอง และ
แรงงานรับจ้างชั่วคราวนอกภาคเกษตร กลายเป็นรับจ้างถาวรนอกภาคการเกษตรมากขึ้น
ด้านการโยกย้ายถิ่นมีการเปลี่ยนแปลงไปไม่มากนัก คือ ในปี 2552 มีจ านวนครัวเรือนที่มีสมาชิกย้าย
ถิ่นร้อยละ 58.57 ของจ านวนครัวเรือนทั้งหมด ในปี 2561 มีจ านวนครัวเรือนที่มีสมาชิกย้ายถิ่นร้อยละ 57.83
ของจ านวนครัวเรือนทั้งหมด จ านวนสมาชิกที่ย้ายถิ่นเฉลี่ย 2.19 และ 2.31 คนต่อครัวเรือน ในปี 2552 และปี
2561 ตามล าดับ ส่วนใหญ่เป็นการย้ายถิ่นระยะยาว เพราะจ านวนระยะเวลาที่สมาชิกครัวเรือนผู้ย้ายถิ่นส่วน
ใหญ่ใช้ในการอาศัยอยู่นอกหมู่บ้าน คือ 10 ถึง 12 เดือนใน 1 ปี โดยสถานที่ที่ผู้ย้ายถิ่นไปอาศัยอยู่ค่อนข้าง
หลากหลาย และห่างไกลจากหมู่บ้านเพิ่มขึ้น ผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในวัยท างาน ในขณะที่ผู้ที่อาศัยอยู่
ในหมู่บ้านเป็นผู้สูงอายุและเด็ก ในปี 2561 ทั้งนี้ในปี 2561 พบว่า โดยเฉลี่ยผู้ย้ายถิ่นส่งเงินหรือสิ่งของให้
ครัวเรือนในชนบทมูลค่าเท่ากับ 24,825.86 บาทต่อคนต่อปี โดยผู้รับเงินส่วนใหญ่น าเงินหรือสิ่งของที่ได้รับ
ไปใช้เพื่อการบริโภคร้อยละ 53.45 หรือเพื่อการศึกษาร้อยละ 18.97 มีจ านวนน้อยมากที่น าไปใช้เพื่อการ
ลงทุนทางการเกษตรหรือการลงทุนอื่นๆ
การเกษตรในหมู่บ้านซับเจริญเป็นดังนี้ การเพาะปลูกในปี 2552 และปี 2561 แทบไม่เปลี่ยนแปลง
ไป คือ เกษตรกรยังมีการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชหลัก เพาะปลูกถั่วเป็นพืชหลังเพาะปลูกข้าวโพด
มันส าปะหลัง และข้าว อีกทั้ง เพาะปลูกไม้ยืนต้น เช่น มะม่วงและมะขามหวาน ด้านการเลี้ยงสัตว์ ครัวเรือน
มีการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้น โดยลดจ านวนการเลี้ยงสัตว์ปีกลง ทั้งนี้พบว่ามีจ านวนครัวเรือนที่เก็บเกี่ยวทรัพยากร
จากธรรมชาติลดลง คือในปี 2552 ร้อยละ 64.14 เหลือเพียง 50.60 ในปี 2561