Page 39 -
P. 39

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร




                         ตอบ     :  คือว่า ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เป็นชาวฝรั่งเศส ก็มาทำางานอ่านจารึกต่างๆ
                  ในเมืองไทยหลายปี และทางฝรั่งเศสต้องการให้ไปอ่านจารึกเขมรที่ไซ่ง่อน จึงกราบทูลสมเด็จฯ

                  กรมพระยาดำารงราชานุภาพ ท่านก็ทรงอนุญาต เพราะทางนี้ก็มีคนไทยที่พออ่านจารึกได้แล้ว
                  แต่ต่อมาเมื่อค้นพบจารึกอีก ก็จะต้องส่งไปให้ศาสตราจารย์เซเดส์อ่านที่กรุงปารีส ผมเลย

                  คิดว่า ถ้าศาสตราจารย์เซเดส์ตายก็จะไม่มีใครอ่านจารึกภาษาไทยได้งั้นหรือ ใครอ่านไม่ได้
                  แต่ผมจะต้องอ่านจารึกให้ได้ ดังนั้นผมจึงเริ่มอ่านจารึกของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชก่อน


                         คำาถาม  : อาจารย์เริ่มเรียนรู้และศึกษาด้านจารึกจากที่ใดและศึกษาอย่างไร

                         ตอบ     :  ก่อนที่จะมาศึกษาเรื่องนี้ ใน พ.ศ. ๒๔๘๒ ผมสอนหนังสืออยู่ที่บางเขน
                  ได้ ๖ เดือน จากนั้นก็จะต้องไปที่แม่โจ้ ผมก็ไปอ่านโคลงนิราศหริภุญชัย เมื่ออ่านแล้ว

                  รู้สึกว่าคนที่เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายนั้นไม่รู้ขนบธรรมเนียมประเพณีของภาคเหนือ
                  ฉะนั้นข้อตัดสินก็อาจจะผิดพลาดไปได้ ผมก็เลยมาศึกษาเรื่องโคลงนิราศหริภุญชัย และ

                  มังรายศาสตร์ คือกฎหมายของพระเจ้ามังราย ระหว่างอยู่ที่แม่โจ้ ๔ ปี ก็ศึกษาจารึกต่างๆ
                  ที่ศาสตราจารย์เซเดส์อ่านไว้ เพราะเห็นว่าถ้าศาสตราจารย์เซเดส์ไปแล้วก็จะไม่มีคนมาอ่าน

                  จารึก  มีจารึกภาษาไทยก็ต้องส่งไปให้ที่ยุโรปอ่านตลอดมา  ผมก็เลยหันมาอ่านจารึก
                  โดยเริ่มต้นอ่านจากจารึกหลักที่ ๑ และด้วยความที่ผมเกิดที่ภาคเหนือ ก็ทำาให้รู้ภาษาเหนือ

                  และภาษาที่ปรากฏในจารึกสุโขทัยก็จะมีคำาที่ใกล้เคียงกับภาษาเหนืออยู่ แล้วผมก็ไปศึกษา
                  ภาษาไทอาหม ภาษาไทยอีสาน ภาษาไทใต้คง คือภาษาที่อยู่ในแถบปลายแม่นำ้าคง และภาษา

                  ไทอื่นๆ จึงทำาให้สามารถอ่านจารึกแทนศาสตราจารย์เซเดส์ได้ ซึ่งทั้งหมดเรียนรู้ด้วยตัวเอง

                         คำาถาม  : อาจารย์มีความรู้ความสามารถด้านการแต่งเพลงได้อย่างไร รู้จังหวะเพลง
                  ได้อย่างไร ที่บ้านอาจารย์เป็นบ้านดนตรีไทยใช่หรือไม่


                         ตอบ     :  คุณแม่ของผมเป็นนักร้องส่งประจำาวงราชการที่จังหวัดแพร่ ฉะนั้นเมื่อผม
                  เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ผมก็รู้จังหวะเพลงไทยเดิมสองชั้น สามชั้น ที่มีเอื้อนสัก

                  ๒๐๐ เพลงได้แล้ว ต่อมาเข้าชั้นมัธยมศึกษา มีการเล่นละครที่โรงเรียน เมื่อเขาแต่งเนื้อเพลง
                  มา ผมก็มีหน้าที่เป็นผู้บรรจุทำานองเพลงว่าควรจะเป็นเพลงอย่างไร อ่อนหวานหรือดุดัน

                  ซึ่งทุกปีโรงเรียนประจำาจังหวัดในจังหวัดแพร่ โรงเรียนชายจะมีการเล่นละคร ๑ เรื่อง และ
                  โรงเรียนสตรีก็จะเล่นละครอีก ๑ เรื่อง

                         คำาถาม  : อาจารย์เล่นกีฬาหรือไม่


                         ตอบ     :  เรื่องเล่นกีฬานั้น ก็มาเริ่มเล่นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ หลังจากไปอยู่ที่แม่โจ้ ซึ่ง
                  กำาหนดให้อาจารย์ทุกคนต้องเล่นกีฬาอาทิตย์ละ ๑ วัน เช่น วิ่ง บาสเกตบอล ก็เลยได้เล่น

                  ทุกอย่าง

                                                                                              37
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44