Page 14 -
P. 14

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                 12                        Thai J. For. 35 (1) : 11-23 (2016)



                 was determined by environmental factors (r=0.97). High soil moisture content was determined
                 the occurrence of species in the dry evergreen forest. While, low percentage of crown cover and

                 high soil bulk density were influenced on species of the mixed deciduous forest. The species
                 with high amplitude tolerance of those three environmental factors such as Markhamia stipulata,
                 Wrightia arborea and Cratoxylum cochinchinense can be distributed from edged-interior into
                 edged-middle of restoration areas.
                        Thus, the forest restoration program should concern the species with high amplitude

                 of tolerance and suitable to the restoration site. Then, restoration process should start from the
                 edged-interior of remnant natural forest which will create the suitable facilities and reduce the
                 recovery period.


                 Keywords: plant establishment, forest restoration, succession, forest edges, dry evergreen forest

                                                      บทคัดย่อ


                        การศึกษาการรุกล�้าตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้จากป่าดิบแล้งสู่พื้นที่ป่าฟื้นฟู ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ
                 ท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด – โป่งก้อนเส้า อ�าเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง มีนาคม

                 พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบพรรณไม้ และปัจจัยก�าหนดการปรากฏของพรรณไม้
                 ภายหลังการฟื้นฟูป่า โดยวางแปลงถาวร ขนาด 10 × 200 เมตร จ�านวน 3 แปลง แบ่งเป็นแปลงย่อยขนาด 10 × 10 เมตร

                 (จ�านวน 60 แปลงย่อย) ติดเบอร์ต้นไม้ทุกต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก ตั้งแต่ 1 เซนติเมตร วัดขนาด และ
                 ระบุชนิด รวมถึงเก็บตัวอย่างดินทุกแปลงย่อย
                        ผลการศึกษา พบชนิดพรรณไม้จ�านวน 44 วงศ์ 106 สกุล 139 ชนิด มีความหนาแน่นและพื้นที่หน้าตัดไม้

                 เท่ากับ 4,304 ต้นต่อเฮกแตร์ และ 26.50 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ตามล�าดับ พรรณไม้ท้องถิ่นจากป่าดิบแล้งที่รุกเข้ามา
                 ตั้งตัวได้ดีบริเวณพื้นป่าฟื้นฟู คือ พญารากด�า มะกายคัด มะเฟืองช้าง นวลเสี้ยน และกะหนาย ผลการวิเคราะห์การ
                 จัดล�าดับหมู่ไม้ พบว่าปัจจัยแวดล้อม (เปอร์เซ็นต์การปกคลุมเรือนยอด ความชื้นดิน และความหนาแน่นรวมของดิน)

                 มีผลต่อการปรากฏของหมู่ไม้ในระดับไม้ใหญ่ (r = 0.97) โดยความชื้นดินที่สูงเป็นปัจจัยก�าหนดการปรากฏของ
                 พรรณไม้ป่าดิบแล้ง ส่วนเปอร์เซ็นต์การปกคลุมเรือนยอดต�่าหรือเรือนยอดเปิด และความหนาแน่นรวมของดินสูง
                 มีอิทธิพลต่อการปรากฏของพันธุ์ไม้ในป่าผสมผลัดใบ กลุ่มพรรณไม้ที่มีช่วงการกระจายกว้างสามารถขึ้นได้ดีในช่วง

                 การลดหลั่นของปัจจัยทั้งสามข้างต้น โดยเฉพาะบริเวณเขตป่าด้านใน และขอบป่าตอนกลาง เช่น แคหัวหมู โมกมัน
                 ติ้วเกลี้ยง เป็นต้น

                        ดังนั้น การฟื้นฟูป่าควรคัดเลือกชนิดพรรณไม้ที่มีช่วงความทนทานทางด้านนิเวศวิทยากว้างและเหมาะสม
                 ต่อพื้นที่ และขั้นตอนการด�าเนินการควรเริ่มฟื้นฟูจากบริเวณขอบป่าด้านในที่ติดกับป่าธรรมชาติจะช่วยท�าให้การฟื้นฟู
                 คืนสู่สภาพป่าดั้งเดิมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น


                 ค�ำส�ำคัญ: การตั้งตัวของพรรณพืช การฟื้นฟูป่า การทดแทน พื้นที่ชายป่า ป่าดิบแล้ง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19