Page 188 -
P. 188
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
184
high level (61.4%). Readiness of the members in forest fire control was at the low level with an
average score of 2.42. In addition, factors affecting the readiness of the tambon administration
organization members included gender, education level, marital status, main occupation, minor
occupation, recruitment of the members being, position holding period, welfare receiving in
forest fire control operation, training of forest fire control, cooperating work with forest officer,
distance between forest area and tambon administration organization office, having issue about
forest fire control activity in the meeting and knowledge of forest fire control.
Keywords: Readiness, Tambon Administration Organization Members, Forest Fire Control,
Udon Thani Province
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ระดับความพร้อม และปัจจัยที่มีผล
ต่อความพร้อมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�าบลในการควบคุมไฟป่า จังหวัดอุดรธานี ท�าการเก็บข้อมูลโดยใช้
แบบสอบถามสัมภาษณ์สมาชิกองค์การบริหารส่วนต�าบลตัวอย่าง 347 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต�่าสุด ค่า t-test และค่า F-test และท�าการเปรียบเทียบ
ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffé โดยก�าหนดนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากรตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 41 ปี ภูมิล�าเนาเดิมเป็นชาว
อุดรธานี มีสถานภาพสมรสและอยู่ด้วยกัน ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีอาชีพหลักเป็นข้าราชการหรือ
พนักงานส่วนท้องถิ่นและมีการประกอบอาชีพรอง โดยมีรายได้เฉลี่ย 19,055 บาทต่อเดือน และมีรายจ่ายเฉลี่ย 13,080
บาทต่อเดือน องค์การบริหารส่วนต�าบลและที่อยู่อาศัยตั้งห่างจากพื้นที่ป่ามีระยะทางเฉลี่ย 7.25 และ 7.01 กิโลเมตร ตาม
ล�าดับ การเข้าเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�าบลโดยการเลือกตั้ง และส่วนใหญ่มีต�าแหน่งเป็นสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนต�าบล โดยมีระยะเวลาในการครองต�าแหน่งปัจจุบันเฉลี่ย 3.42 ปี และส่วนใหญ่ไม่ได้รับสวัสดิการในการ
ปฏิบัติงานควบคุมไฟป่า ไม่ได้รับการฝึกอบรมด้านการควบคุมไฟป่า และไม่มีการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่
ป่าไม้ แต่มีการบรรจุวาระเกี่ยวกับภารกิจการควบคุมไฟป่าในการประชุมสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�าบล ร้อยละ
54.8 และส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไฟป่าและการควบคุมไฟป่าในระดับมาก ร้อยละ 61.4 ความพร้อมของ
สมาชิกองค์การบริหารส่วนต�าบลในการควบคุมไฟป่า จังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยความพร้อมเท่ากับ
2.42 คะแนน ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�าบลในการควบคุมไฟป่า จังหวัดอุดรธานี
ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพหลัก การมีอาชีพรอง ลักษณะการเข้าเป็นสมาชิกองค์การบริหาร
ส่วนต�าบล ระยะเวลาในการครองต�าแหน่ง การได้รับสวัสดิการในการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่า การได้รับการฝึกอบรม
ด้านการควบคุมไฟป่า การติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ระยะห่างระหว่างองค์การบริหารส่วนต�าบลที่ท�างาน
อยู่กับพื้นที่ป่า การบรรจุภารกิจการควบคุมไฟป่าในวาระการประชุม และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมไฟป่า
ค�าส�าคัญ: ความพร้อม สมาชิกองค์การบริหารส่วนต�าบล การควบคุมไฟป่า จังหวัดอุดรธานี