Page 88 -
P. 88
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
82 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ต้องการ (Chadeau, 1992; Cnaan & Kang, 2011; มัทนา พนานิรามัย, 2545) โดยผู้วิจัยใช้วิธี
ทดแทนด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง (replacement by specialist) มาปรับใช้ในการประมาณการมูลค่า
ของการให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือนและการให้บริการชุมชน เนื่องจากเป็นวิธีที่ใช้อัตราของผู้ที่
ทำงานในแต่ละประเภทได้เจาะจงและละเอียดกว่าโดยมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการให้บริการและดูแล
สมาชิกในครัวเรือนและการให้บริการชุมชนของผู้สูงอายุแต่ละคนมีค่าดังนี้
มูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือนของผู้สูงอายุ k
= ∑((TIMEj x WAGEij) x ACTj)
มูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการให้บริการชุมชนของผู้สูงอายุ k
= ∑((TIMEj x WAGEij) x ACTj)
เมื่อ k แทนผู้สูงอายุแต่ละคนตั้งแต่คนที่ 1 ถึง 16,373, i แทนเขตที่อยู่อาศัย (ในและนอก
กรุงเทพฯ), j แทนประเภทของงาน, TIME แทนเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการทำกิจกรรม, WAGE แทนอัตราค่า
จ้างเฉลี่ยของงานประเภท j ในท้องที่ i, ACT แทนระดับการทำกิจกรรม แบ่งเป็น 0 และ 1
สำหรับวิธีการประมาณการมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของกิจกรรมในตลาดในงานศึกษานี้คือ การทำงาน
เชิงเศรษฐกิจ จะคิดมูลค่าโดยใช้อัตราค่าจ้างเฉลี่ยของงานในอาชีพเดียวกันกับที่ผู้สูงอายุทำ มีค่าดังนี้
มูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการทำงานของผู้สูอายุ k
= ∑((TIMEj x WAGEij) x WORKj)
เมื่อ k แทนผู้สูงอายุแต่ละคนตั้งแต่คนที่ 1 ถึง 16,373, i แทนเขตที่อยู่อาศัย (ในและนอก
กรุงเทพฯ), j แทนประเภทของงาน, TIME แทนเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการทำงาน,WAGE แทนอัตราค่าจ้าง
เฉลี่ยของงานประเภท j ในท้องที่ i, WORK แทนระดับการทำงาน แบ่งเป็น 0 และ 1
หลังจากทำการประมาณการมูลค่ารวมทุกกิจกรรมของผู้สูงอายุทุกคนแล้วนำมาคิดค่าถ่วง
น้ำหนักเพื่อแทนมูลค่าการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุทั้งประเทศซึ่งมูลค่าที่ได้จาก
การประมาณการจะเป็นมูลค่าในช่วงกรอบเวลา 1 ปี ของปี พ.ศ. 2554
ผลการศึกษา
1. สถานการณ์การทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุไทย
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนอกตลาด โดยมีส่วนร่วมในการให้
บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือนร้อยละ 90.6 ของผู้สูงอายุทั้งหมด เมื่อพิจารณาจำแนกแต่ละกิจกรรม
พบว่า ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำอาหารและซื้ออาหารซื้อกับข้าวร้อยละ 76.9 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ซักรีด
เสื้อผ้าร้อยละ 62.7 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ปัดกวาดเช็ดถูบ้านร้อยละ 77.2 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ดูแลหลาน
ร้อยละ 30.2 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และดูแลผู้สูงอายุร้อยละ 9.0 ของผู้สูงอายุทั้งหมด นอกจากนี้ผู้สูงอายุยัง
มีส่วนร่วมในการให้บริการชุมชนร้อยละ 26.9 ของผู้สูงอายุทั้งหมด เมื่อพิจารณาจำแนกแต่ละกิจกรรมพบว่า
ผู้สูงอายุทำงานอาสาสมัครร้อยละ 10.9 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ดูแลผู้สูงอายุอื่นร้อยละ 7.7 ของผู้สูงอายุ
ทั้งหมด และช่วยเหลืองานชุมชนและสังคมร้อยละ 26.0 ของผู้สูงอายุทั้งหมด อีกทั้งผู้สูงอายุยังมีส่วนร่วม