Page 85 -
P. 85

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   79



             ยุโรปคือ ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ใช้เวลาในการทำงานอาสาสมัครสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ (Volonteurope, 2012)
             งานของ  Royal  Voluntary  Service  (2011)  ได้ทำการประเมินมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของกิจกรรมนอก
             ตลาด  (non-market  activity)  ของผู้สูงอายุในประเทศอังกฤษปี  ค.ศ.  2010  พบว่ามูลค่าการทำงาน
             อาสาสมัคร  การบริจาคเพื่อการกุศล  การมอบมรดกให้การกุศลการดูแลเด็ก  การออมเพื่อหลานและการ
             ถ่ายโอนทรัพย์สินให้คนในครอบครัว รวมแล้วสูงถึง 20.69 พันล้านปอนด์ และจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 30.08

             พันล้านปอนด์ในอีก  20  ปีข้างหน้าเช่นเดียวกันกับกระทรวงพัฒนาสังคมของประเทศนิวซีแลนด์ก็ได้
             ประเมินมูลค่าของงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างและงานอาสาสมัครของผู้สูงอายุ พบว่า ในปี ค.ศ. 2011 มีมูลค่า
             สูงถึง 5.97 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ และเพิ่มเป็น 23.06 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ในปี ค.ศ. 2051

             แนวโน้มมูลค่าของกิจกรรมเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นในทุกกิจกรรม  นั่นแสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุนั้นเป็นส่วนหนึ่ง
             ในการทำให้เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศดีขึ้น (Ministry of Social Development, 2011)
                      สำหรับในระดับครัวเรือน  นอกเหนือจากในยุโรปที่แสดงให้เห็นมูลค่าของการดูแลเด็ก  การ
             ออมเพื่อหลาน และการถ่ายโอนทรัพย์สินให้คนในครอบครัวดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว สิ่งที่เห็นได้ชัดคือใน
             สังคมเอเชียผู้สูงอายุจะมีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือในด้านของการทำงานบ้านและดูแลเด็กให้แก่ลูก

             หลานของตน  โดยเฉพาะในประเทศจีนสิงคโปร์และไต้หวัน  ที่คู่สามีภรรยาทำงานทั้งคู่ยังนิยมให้ปู่ย่าตา
             ยายเป็นผู้ช่วยเลี้ยงดูลูกของตนเองในระหว่างวันโดยต่างก็มีรูปแบบแตกต่างกันไป  ประเทศสิงคโปร์เป็น
             ประเทศที่มีพื้นที่แคบ คนหนุ่มสาวเมื่อแต่งงานแล้วส่วนใหญ่ยังอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ของตนจึงไม่แปลก

             ที่พ่อแม่เหล่านี้จะมีส่วนร่วมในการดูแลหลานในขณะที่ผู้สูงอายุในไต้หวัน  (ผู้สูงอายุจำนวนมากอาศัยอยู่
             กับลูก  โดยเฉพาะผู้สูงอายุเพศหญิงกว่า  80%  อาศัยอยู่กับลูก)  มองว่าหน้าที่ในการดูแลเลี้ยงหลานและ
             การทำงานบ้านเป็นหน้าที่ที่พวกตนควรกระทำเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระลูกของตน  อันเป็นผลมาจากระบบ
             บำนาญของประเทศนี้ยังไม่ทั่วถึง  ดังนั้น  ผู้สูงอายุกลุ่มที่ไม่ได้รับบำนาญก็จะได้รับการเกื้อหนุนจากลูก
             ของตน จึงทำหน้าที่เหล่านี้ให้ รวมถึงประเทศจีนที่มีปู่ย่าตายายจำนวนไม่น้อยที่ดูแลหลานระหว่างวัน ถึง

             แม้จะเป็นสังคมเอเชียเช่นเดียวกันแต่สำหรับเรื่องการดูแลหลานและการทำงานบ้านของผู้สูงอายุใน
             ประเทศญี่ปุ่นนั้นกลับพบว่า  ผู้สูงอายุในญี่ปุ่นมองว่าการดูแลหลานนั้นไม่ใช่หน้าที่ของตนเป็นเพียงทาง
             เลือกที่จะทำหรือไม่ทำ ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากประเทศนี้มีระบบบำนาญที่ทั่วถึง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้

             รับแหล่งเกื้อหนุนหลักจากภาครัฐไม่ใช่ลูกของตน  จึงไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ต้องช่วยเหลือกันมากนัก
             (เอะมิโกะ โอะชิอะ อิ และ คะโยะโกะ อุเอะโนะ, 2554)
                      ผู้สูงอายุในประเทศไทยเองก็ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศโดยทำงานหลากหลายประเภท
             ไม่ว่าจะมีค่าจ้างหรือไม่ก็ตาม  จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย  ปี  พ.ศ  2551  (สมศักดิ์  ชุณหรัศมิ์,
             2552)  ผู้สูงอายุยังคงทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม  ได้แก่  เป็นที่ปรึกษาตามหน่วยงานต่างๆ  รวมตัวทำ

             กิจกรรมเพื่อสังคม  เป็นราชบัณฑิตที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ  เป็นอาสาสมัครทำงานเพื่อ
             สังคม  เช่น  ทนายอาสา  อาสาสมัครทำงานในโรงพยาบาล  เป็นวุฒิอาสาธนาคารสมอง  ทำหน้าที่เป็นที่
             ปรึกษาให้แก่องค์กรต่างๆ  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ผู้พิพากษาสมทบและกรรมการการเลือกตั้ง  (รวม

             ประมาณ 198,606 คน) นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีคุณค่าโดยเป็นผู้ทรงภูมิปัญญา มีความรู้ความชำนาญมี
             ประสบการณ์สูง ทำหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ให้แก่คนรุ่นหลังในชุมชน ได้แก่ เป็นวิทยากร ครู
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90