Page 84 -
P. 84
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
78 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
1
การที่ผู้สูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ
โดยประชากรวัยแรงงานจะต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น รายได้เฉลี่ยของประชากรจะลดลง
และจะส่งผลถึงรายได้จากเงินภาษีอากรของรัฐจะลดลงด้วย โดยรัฐจะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นในการดูแลเกี่ยว
กับผู้สูงอายุ เช่น ด้านสุขภาพ การประกันสังคม สวัสดิการต่างๆเพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น แต่ยังคงพบว่ามีผู้
สูงอายุส่วนหนึ่งยังคงทำงานเชิงเศรษฐกิจอยู่ หรือเรียกว่า “กิจกรรมในตลาด (market activities)” จาก
งานวิจัยของ Royal Voluntary Service (2011) ได้ทำการประเมินมูลค่าเชิงเศรษฐกิจผ่านการทำ
กิจกรรมของผู้สูงอายุในประเทศอังกฤษ และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุกับมูลค่าที่ผู้
สูงอายุให้แก่สังคมแล้วพบว่า ผู้สูงอายุเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับซึ่งสอดคล้องกับงานในประเทศนิวซีแลนด์ที่
แสดงให้เห็นถึงมูลค่าเชิงเศรษฐกิจจากการทำกิจกรรมในตลาดของผู้สูงอายุประเทศนิวซีแลนด์ โดย
แสดงออกมาในรูปของภาษีรายได้ที่ได้จากการทำงานที่ผู้สูงอายุจ่ายให้แก่รัฐ โดยในปี ค.ศ. 2010 มูลค่า
รวมของภาษีรายได้ที่ผู้สูงอายุจ่ายแก่รัฐเป็น 14.69 พันล้านปอนด์ในอังกฤษ และ 0.21 พันล้านดอลลาร์
นิวซีแลนด์ในนิวซีแลนด์มีการคาดประมาณไปอีก 20-40 ปีข้างหน้า แสดงให้เห็นถึงมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นเกิน
เท่าตัวที่ได้จากการทำงานและจ่ายภาษีเข้ารัฐของผู้สูงอายุในประเทศอังกฤษและนิวซีแลนด์ โดยคาด
การณ์ว่าในปี ค.ศ. 2030 มูลค่าที่ได้จากภาษีรายได้ของผู้สูงอายุในอังกฤษคิดเป็น 31.27 พันล้านปอนด์
และในปี ค.ศ. 2051 มูลค่าที่ได้จากภาษีรายได้ของผู้สูงอายุในนิวซีแลนด์คิดเป็น 1.22 พันล้านดอลลาร์
นิวซีแลนด์ (Ministry of Social Development, 2011)
เมื่อพิจารณาในอีกแง่มุมจะพบว่า ผู้สูงอายุเป็นเสมือนผู้อยู่เบื้องหลังให้ประชากรวัยแรงงาน
สามารถทำงานเชิงเศรษฐกิจได้ในรูปแบบของการช่วยเหลือด้านการทำงานบ้าน หรือช่วยดูแลเด็ก
นอกจากนี้ยังแสดงออกในแง่งานบริการต่อชุมชนและสังคม ทำงานอาสาสมัคร จิตอาสาและการช่วยเหลือ
ผู้อื่นซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคมอย่างมหาศาล เพียงแต่งานเหล่านี้ไม่มีการประเมินมูลค่าออกมาเป็นตัว
เงิน โดยกิจกรรมเหล่านี้เรียกว่า “กิจกรรมนอกตลาด (non–market activities)” โดยพิจารณากิจกรรม
ในลักษณะนี้ได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับในครัวเรือน เช่น การทำงานบ้าน ทำอาหาร ดูแลหลาน
เป็นต้น และ2) ระดับนอกครัวเรือน เช่น กิจกรรมเพื่อผู้อื่น อาสาสมัคร บริการชุมชน เป็นต้น
จากรายงานขององค์กรอิสระระหว่างประเทศที่ทำงานร่วมกันในประเทศแถบยุโรปซึ่งได้จัดทำ
รายงานที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการทำงานอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ ที่มีต่อตัวผู้สูงอายุเอง โดย
สนับสนุนให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (active ageing) คือมีสุขภาพดี มีความเป็นอิสระในชีวิตประจำ
วันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์แก่สังคมคือ ผลผลิตจากงานอาสาสมัครที่
ผู้สูงอายุทำนั้นมีผลทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งพบว่าในแต่ละประเทศของยุโรปด้วยกันเองก็จะมีความ
แตกต่างกันทั้งในรูปแบบของประเภทงานอาสาสมัครและสัดส่วนของผู้สูงอายุที่ทำงานอาสาสมัคร โดยผู้
สูงอายุในประเทศไอซ์แลนด์มีสัดส่วนในการทำงานอาสาสมัครสูงสุด (66%) รองลงมาคือประเทศ
เนเธอร์แลนด์ (50%) และต่ำสุดคือประเทศโปรตุเกส (6%) สำหรับสิ่งที่คล้ายกันของแต่ละประเทศใน
1 ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2548 (มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 10.5) โดยสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หมายถึงประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 ของ
ประชากรทั้งประเทศหรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7