Page 86 -
P. 86
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
80 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
สอนดนตรีไทย สอนทำของเล่นให้เด็กในชุมชน รวมทั้งยังเป็นผู้สืบสานวัฒนธรรม พิธีกรรมทางศาสนา
และประเพณีต่างๆ (รวมประมาณ 5,090 คน จาก 22 สาขา)
เมื่อนำข้อมูลการสำรวจการใช้เวลาของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2547 และปี พ.ศ. 2552 มาวิเคราะห์การใช้เวลาของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปหรือผู้
สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุไทยได้ใช้เวลาในการให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือนสูงใกล้เคียงกับกลุ่มอายุ
อื่น โดยในแต่ละปีที่มีการสำรวจมีการใช้เวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหรือไม่แตกต่างมากนัก และได้ใช้เวลาใน
การให้บริการชุมชนสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นในทุกๆ ปี โดยเฉพาะในการสำรวจครั้งล่าสุด คือ ปี พ.ศ.2552
ระยะเวลาเฉลี่ยได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด (รัชพันธุ์ เชยจิตร, 2556) นอกจากนี้
ผู้สูงอายุประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมดยังคงทำงานในตลาดหรือทำงานเชิงเศรษฐกิจอยู่ และร้อยละของผู้
สูงอายุที่ทำงานในปี พ.ศ. 2554 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี พ.ศ. 2550 (วิพรรณ ประจวบ
เหมาะ, 2555)
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมที่กล่าวมาเหล่านี้แม้จะมีกิจกรรมที่ถูกนับรวมอยู่ในบัญชีประชาชาติ
เช่น การทำงานเชิงเศรษฐกิจ แต่กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ผู้สูงอายุมีบทบาทสูง เช่น การทำงานบ้าน การดูแล
หลาน การช่วยงานชุมชน เป็นต้น กลับไม่ได้ถูกนับรวมอยู่ในบัญชีประชาชาติ ถึงแม้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่มี
ประโยชน์ต่อสมาชิกในครัวเรือนและสังคม อีกทั้งกิจกรรมเหล่านี้ยังล้วนเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้สูงอายุเอง
โดยเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นผู้สูงอายุที่
มีศักยภาพหรือพฤฒพลัง (active ageing) (Lemon, Bengtson, & Peterson, 1972) ก็ตาม นั่นอาจ
เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่นำไปสู่มุมมองที่มีต่อผู้สูงอายุในประเทศไทยเชิงลบดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ในขณะที่จาก
การศึกษาเอกสารและข้อมูลต่างๆข้างต้นพบว่า ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะมีการพยายามแสดงให้เห็นถึง
คุณค่าผ่านทางการทำกิจกรรมต่างๆของผู้สูงอายุไทยก็ตาม แต่ยังมีงานศึกษาไม่มากที่แสดงให้เห็นถึง
มูลค่าของกิจกรรมเหล่านี้ออกมาเป็นตัวเงิน เช่น งานของกุศล สุนทรธาดา (2553) ที่ศึกษาคุณค่าเชิง
เศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย แต่ยังไม่ได้ประเมินมูลค่าของกิจจกรรมนอกตลาดออกมาเป็นตัวเงิน ผู้วิจัย
จึงสนใจศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุไทย และ
ประมาณการมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการทำกิจกรรมเหล่านี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ปัจจุบันและ
มูลค่าที่แสดงออกเป็นตัวเงินอันเกิดจากการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมโดยจำแนกกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมในตลาด (Market Activities) ได้แก่ การทำงาน และกิจกรรมนอกตลาด (Non–market
Activities)ได้แก่ 1) การให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือน (ซื้ออาหารซื้อกับข้าว ทำอาหาร ซักรีด
เสื้อผ้า ปัดกวาดเช็ดถูบ้าน ดูแลหลาน และดูแลผู้สูงอายุ) และ 2) การให้บริการชุมชน (ทำงานอาสาสมัคร
ดูแลผู้สูงอายุอื่น และช่วยเหลืองานชุมชนและสังคมเป็นบางโอกาส) โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถเป็น
ประโยชน์ในการเพิ่มคุณค่า บทบาทในสังคมให้แก่ผู้สูงอายุไทยที่จะไม่ถูกมองเป็นเพียงผู้รับอย่างเดียว
แต่ยังคงเป็นผู้ให้แก่สังคมและครอบครัวอีกด้วย
2. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาสถานการณ์และประมาณการมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ