Page 91 -
P. 91
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 85
สรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาสถานการณ์การทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุไทยแสดงให้
เห็นว่า ในปัจจุบันผู้สูงอายุไทยได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศโดยทำงานหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะ
เป็นการทำงานที่มีค่าจ้างตอบแทน ได้แก่ การทำงานเชิงเศรษฐกิจ โดยมีประมาณ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ
ทั้งหมดยังคงทำงานเชิงเศรษฐกิจอยู่ รวมทั้งการทำงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ได้แก่ การให้บริการและดูแล
สมาชิกในครัวเรือน การให้บริการชุมชนโดยพบว่าผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุทั้งหมดยังคงให้
บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือน และประมาณ 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุทั้งหมดให้บริการชุมชน
อย่างไรก็ตามงานของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีผลตอบแทนเป็นตัวเงิน เช่น การให้บริการและดูแลสมาชิกใน
ครัวเรือน และการให้บริการชุมชน จึงไม่ได้ประเมินมูลค่าออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งทำให้ไม่มีการประเมินค่า
รวมอยู่ในบัญชีประชาชาติ แม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มก็ตาม ทั้งที่จิตอาสาและการ
ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคมอย่างมหาศาลเช่นเดียวกับการทำงานบ้าน การดูแลเด็กของผู้
สูงอายุซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อครัวเรือนของผู้สูงอายุก็ล้วนเป็นงานบริการที่ไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะอยู่
นอกเหนือการค้าขายกันในระบบตลาด (Ministry of Social Development, 2011; Royal Voluntary
Service, 2011)
ประเด็นคุณูปการของผู้สูงอายุต่อสังคมยังมีความคล้ายคลึงและสามารถนำไปสู่การทบทวน
ความเข้าใจในเชิงแนวคิดทฤษฎีของสตรีนิยม ที่ทั้งผู้สูงอายุและผู้หญิงเองต่างก็ได้รับผลกระทบจาก
เงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดสภาพความเป็นรองและบั่นทอนคุณค่าลง ระบบเศรษฐกิจทำให้เกิด
การแบ่งแยกการทำงานออกเป็นงานส่วนตัว คือ งานบ้านและงานที่ทำนอกบ้าน ซึ่งนักสตรีนิยมได้
พยายามพิสูจน์ว่า งานบ้านหรืองานดูแลสมาชิกในครัวเรือนและงานอื่นๆ ของผู้หญิงในพื้นที่ของบ้านล้วน
มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ควรได้รับการตระหนักรับรู้ และควรได้รับการนำไปคิดคำนวณในบัญชี
ประชาชาติ ซึ่งต่อมาทำให้เกิดการเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้หญิงที่ทำงานในพื้นที่ส่วนตัว
เหล่านี้ หรืออย่างน้อยก็ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของผู้ที่ทำงานเพื่อครอบครัวหรือสังคม มิใช่
มองเป็นแรงงานฟรี และมิใช่เรื่องส่วนบุคคลเช่นเดียวกับงานที่ผู้สูงอายุทำ (วันทนีย์ วาสิกะสิน, 2543)
นอกจากการทำกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่สมาชิกในครอบครัวและสังคมแล้ว ยังเป็น
ประโยชน์แก่ตัวผู้สูงอายุเอง โดยส่งเสริมให้สูงอายุอย่างมีคุณค่า มีศักยภาพ หรือ “พฤฒพลัง” (active
ageing) ตามที่องค์การอนามัยโลกได้เสนอกรอบแนวคิดไว้ว่าผู้สูงอายุที่เป็นพฤฒพลังจะต้องมี
องค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ สุขภาพดี มีความมั่นคง และมีส่วนร่วม
ในสังคม (World Health Organization, 2002) เช่นเดียวกับทฤษฎีกิจกรรม (Activity
Theory) โดย Havighurst (1961) อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุว่า ผู้สูงอายุมีความ
ต้องการทางด้านจิตใจและสังคมเช่นเดียวกับตอนที่พวกเขายังอยู่ในวัยกลางคน การหยุดทำกิจกรรมที่
เคยทำในวัยกลางคนหรือการถอยห่างจากสังคมจึงเป็นพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับความต้องการของผู้สูงอายุ
เมื่อผู้สูงอายุถูกแยกออกจากสังคมหรือมีบทบาททางสังคมลดลงไม่ว่าจะด้วยเหตุผลมาจากการเกษียณ
อายุการทำงาน การเป็นหม้าย หรือการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตนเองเคยทำใน