Page 92 -
P. 92
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
86 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ช่วงวัยกลางคน ผู้สูงอายุอาจเกิดความรู้สึกสูญเสียความเป็นตัวเอง มีคุณภาพชีวิตแย่ลง ขาดความมั่นใจ
ในตนเอง และแยกตัวเองออกมาจากสังคม ตามทฤษฎีนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มีความอยู่ดีมีสุขหรือประสบ
ความสำเร็จเมื่อยามเป็นผู้สูงอายุ (successful aging) จะยังคงดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องเช่นเดียวกับที่
เคยทำในวัยกลางคน แต่กิจกรรมอาจไม่ใช่ชนิดเดิม อาจเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมด้านอื่น เช่น
การทำงานอาสาสมัคร การทำงานเพื่อชุมชนหรือสังคม การให้ความช่วยเหลือครอบครัวตนเองหรือ
ครอบครัวอื่นๆ เป็นต้น เพื่อเติมเต็มบทบาทเดิมที่สูญเสียไป โดยคุณภาพและชนิดของกิจกรรมที่ทำมี
ความสำคัญต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ การมีปฏิสัมพันธ์ทีใกล้ชิดหรือกิจกรรมที่ไม่เป็น
ทางการกับบุคคลอื่นๆอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวสนับสนุนให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่าต่อครอบครัว
และสังคมอยู่ (Knight &Ricciardelli, 2003; Lemon et al., 1972)
อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังต้องเริ่มจากการมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
นอกจากนี้การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในด้านต่างๆ เช่น ด้านอารมณ์ ด้านการได้รับและเห็นคุณค่า
ด้านการตอบสนองในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ด้านข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้
ผู้สูงอายุจะก้าวสู่การเป็นพฤฒพลังได้ (กุศล สุนทรธาดา และกมลชนก ขำสุวรรณ, 2553) ปัจจัยเหล่านี้
อาจเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุบางคนสามารถก้าวสู่การเป็นพฤฒพลังได้ ในขณะที่บางคนไม่
สามารถเป็นได้
ผลการศึกษาที่ได้จากการประมาณการมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
และสังคมของผู้สูงอายุแสดงให้เห็นถึงมูลค่าของกิจกรรมเหล่านี้หากถูกคิดคำนวณรวมในบัญชี
ประชาชาติ โดยเมื่อใช้วิธีทดแทนด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องมาใช้ในการประมาณการ มูลค่าของกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ผู้สูงอายุทำคิดเป็นประมาณร้อยละ 2.46 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(gross domestic product: GDP) จำแนกเป็นมูลค่าของกิจกรรมนอกตลาด (การให้บริการและดูแล
สมาชิกในครัวเรือน การให้บริการชุมชน) ร้อยละ 0.97 และมูลค่าของกิจกรรมในตลาด (การทำงาน) ร้อย
ละ 1.49 จากผลการศึกษาจะเห็นว่ามูลค่าส่วนใหญ่ของกิจกรรมนอกตลาดจะเป็นการให้บริการและดูแล
สมาชิกในครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 0.966 ในขณะที่มูลค่าของการให้บริการชุมชนคิดเป็นร้อยละ 0.002
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยในประเทศอังกฤษที่พบว่ามูลค่าของการทำงานอาสาสมัครในกลุ่มผู้สูงอายุ
คิดเป็นประมาณร้อยละ 0.70 ของ GDPประเทศอังกฤษ (Royal Voluntary Service, 2011) มูลค่าการ
ให้บริการชุมชนของผู้สูงอายุในไทยดูน้อยกว่า อาจเป็นเพราะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการทำกิจกรรมการให้
บริการชุมชนของผู้สูงอายุไทยค่อนข้างต่ำ การใช้วิธีการประเมินมูลค่าที่แตกต่างกัน อีกทั้งวัฒนธรรมและ
บริบทสังคมที่แตกต่างกัน โดยประเทศตะวันตกได้เข้าสู่สังคมสูงอายุมาก่อนไทยอย่างค่อยเป็นค่อยไปจึง
มีนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ค่อนข้างรองรับหลากหลายด้านมากกว่าในประเทศไทย เช่น นโยบายที่เกี่ยว
กับการสนับสนุนการเข้าร่วมสังคมและทำกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบองค์กรทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็น
ทางการ สอดคล้องกับ Salamon, Sokolowski, and Associates (2004) ศึกษาการทำงานของอาสา
สมัครใน 34 ประเทศ พบว่า ประเทศในทวีปอเมริกาและออสเตรเลีย รวมถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวีย
กับประเทศอิสราเอล มูลค่าของการทำงานอาสาสมัครจะมากกว่า 2% ของ GDP ประเทศนั้นๆ ในขณะที่
ประเทศทวีปแอฟริกาและเอเชีย รวมถึงประเทศส่วนใหญ่ในลาตินอเมริกาและยุโรปตะวันออก มูลค่าของ