Page 93 -
P. 93

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   87



             การทำงานอาสาสมัครจะมีค่าน้อยกว่า 0.5 % ของ GDP ประเทศนั้นๆ
                      อย่างไรก็ตาม  มูลค่าของการให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือนของผู้สูงอายุไทยสูงถึงร้อย
             ละ  0.966  ของ  GDP  ซึ่งอาจเป็นผลจากวัฒนธรรมและบริบทของสังคมประเทศตะวันออก  โดยสังคม
             ตะวันออกมีค่านิยมที่ว่าคนรุ่นหลังมีหน้าที่ดูแลคนรุ่นก่อนหรือผู้อาวุโสกว่า  อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากค่า
             นิยมที่มองเรื่องความกตัญญูเป็นสิ่งสำคัญ  ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นใน

             ระดับครอบครัวในระดับสูง (Alam, 2007) ค่านิยมนี้จึงก่อให้เกิดความผูกพันในครอบครัวมากขึ้น เมื่อ
             สมาชิกในครอบครัวดูแลผู้สูงอายุ  ผู้สูงอายุจึงรู้สึกอยากตอบแทนสิ่งที่บุตรหลานได้ทำให้เช่นกัน
             สอดคล้องกับการศึกษาเอกสารที่ผ่านมา  เช่น  ผู้สูงอายุในไต้หวันมองว่าหน้าที่ในการดูแลเลี้ยงหลานและ

             การทำงานบ้านเป็นหน้าที่ที่พวกตนควรกระทำเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระลูกของตน  จึงทำหน้าที่เหล่านี้ให้เพื่อ
             เป็นการต่างตอบแทน  ถึงแม้จะเป็นสังคมเอเชียเช่นเดียวกันแต่สำหรับเรื่องการดูแลหลานและการทำงาน
             บ้านของผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นนั้นกลับพบว่า ผู้สูงอายุในญี่ปุ่นมองว่าการดูแลหลานนั้นไม่ใช่หน้าที่ของ
             ตน  เป็นเพียงทางเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ  ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากประเทศนี้มีระบบบำนาญที่ทั่วถึง
             ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับแหล่งเกื้อหนุนหลักจากภาครัฐไม่ใช่ลูกของตน  จึงไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ต้อง

             ช่วยเหลือกันมากนัก (เอะมิโกะ โอะชิอะอิและคะโยะโกะ อุเอะโนะ, 2554) อีกทั้งในประเทศญี่ปุ่นพบว่า
             ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่เพียงลำพังมีสูงถึงร้อยละ  15  ของผู้สูงอายุทั้งหมด  และการทำงานสังคมโดยไม่ได้รับ
             ค่าตอบแทนมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ (Nakahara, 2013)

                      เมื่อพิจารณามูลค่าที่ได้จากการทำงานเชิงเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทยพบว่า  มูลค่าจากการ
             ทำงานเชิงเศรษฐกิจของผู้สูงอายุนั้นคิดเป็นร้อยละ 1.49 ของ GDPจากรายงานการสำรวจภาวะการทำงาน
             ของประชากรไทย ปี พ.ศ. 2544 2547 และ 2554 พบว่า มูลค่าจากการทำงานเชิงเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ
             เพิ่มขึ้นในทุกปี  โดยแสดงจากรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ได้จากการทำงานของผู้สูงอายุที่ได้รายได้เฉลี่ย
             5,818  บาท  ในปี  พ.ศ.  2544  8,220  บาท  ในปี  พ.ศ.  2547  และ  12,609  บาท  ในปี  พ.ศ.  2554

             (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2544, 2547, 2554) นอกจากนี้การทำงานเชิงเศรษฐกิจของผู้สูงอายุยังเพิ่มมุม
             มองเชิงบวกให้แก่ตัวผู้สูงอายุเอง  สร้างความรู้สึกภูมิใจและเห็นคุณค่า  โดยรู้สึกไม่ต้องเป็นภาระของลูก
             หลานและสังคม เป็นการสร้างหลักประกันทางรายได้ให้แก่ตัวเอง อีกทั้งยังช่วยลดภาระของรัฐในการดูแล

             ผู้สูงอายุด้วย (กุศล สุนทรธาดา, 2553)
                      จากมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุที่แสดงออกมา
             ให้เห็นในรูปตัวเงินข้างต้นแสดงให้เห็นว่า  ผู้สูงอายุยังคงมีคุณค่าแก่สมาชิกในครอบครัวและสังคม  โดย
             เฉพาะอย่างยิ่งจากการคาดประมาณประชากรในอนาคตอีก  30  ปี  ข้างหน้าของสำนักงานคณะกรรมการ
             พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่พบว่า  ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ  13.2  ของประชากร

             ทั้งหมด  ในปี  พ.ศ.  2553  เป็นร้อยละ  32.1  ของประชากรทั้งหมด  ในปี  พ.ศ.  2583  (สำนักงานคณะ
             กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2556) มูลค่าของการทำกิจกรรมเหล่านี้ย่อมจะเพิ่มขึ้น
             อย่างมหาศาล  ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้เพิ่มขึ้น  เท่ากับเป็นการ

             ส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและบทบาทของผู้สูงอายุทั้งในสายตาของตัวผู้สูงอายุเองและสายตาคนรอบข้าง
             และสังคมเพิ่มขึ้น  โดยในด้านการให้บริการชุมชนซึ่งผู้สูงอายุยังมีบทบาทน้อยอยู่เมื่อเทียบกับประเทศ
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98