Page 270 -
P. 270
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 251
ดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายในระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด เพราะก าหนดบทบาทและ
ค านิยามเรื่องอ านาจสูงสุดเป็นของกษัตริย์ (ณัฐพล ใจจริง, 2556, น. 59) ซึ่งตรงข้าม
กับการก าหนดนิยามว่า อ านาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย จะเห็นได้ว่าการก าหนด
นิยามแบบแรกที่ว่า อ านาจสูงสุดเป็นของกษัตริย์เป็นค านิยามตามระบอบสมบูรณาญา
สิทธิราชย์ ผิดกับระบอบประชาธิปไตยที่ว่า อ านาจสูงสุดเป็นของราษฎร จุดอ่อนใน
ประเด็นที่สองคือ แนวคิดที่ว่าคณะราษฎรแย่งชิงอ านาจไปจากการเตรียมการ
พระราชทานไปเป็นของพวกตนนั้น ผิดกับหลักฐานที่ว่า คณะราษฎรยึดอ านาจได้
ในวันที่ 24-26 มิถุนายน พ.ศ.2475 และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ 27 มิถุนายน
พ.ศ.2475 ซึ่งข้อความส าคัญในกฎหมายก็คือว่า ก าหนดนิยามและประกาศให้ “อ านาจ
สูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” (มาตรา 1 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน
สยามชั่วคราว พ.ศ.2475) ซึ่งเป็นการก าหนดนิยามตามระบอบประชาธิปไตยที่อ านาจ
สูงสุดเป็นของราษฎรที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทย (ปิยบุตร แสงกนกกุล, 2559,
น. 33) จุดอ่อนในประเด็นที่สามคือ ความเชื่อที่ว่าความขัดแย้งวุ่นวายทางการเมือง
เกิดจากคณะราษฎรแย่งชิงอ านาจนั้นมีจุดอ่อนที่ว่า กฎหมายที่เชื่อว่าจะมีการพระราชทาน
ไม่ใช่กฎหมายในระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งวุ่นวายจึงไม่ใช่การแย่งชิงอ านาจ
ไปจากการเตรียมการพระราชทาน เพราะไม่ปรากฏว่ามีอยู่จริง แต่ความขัดแย้งวุ่นวาย
เป็นผลอีกด้านของการแย่งชิง คือ เป็นเพราะการพยายามชิงอ านาจกลับของเครือข่าย
ระบอบเก่าที่สูญเสียอ านาจเพื่อถวายคืนอ านาจต่างหาก กรณีที่รู้จักกันดีคือ กรณี
กบฏบวรเดชที่กลุ่มบุคคลมีเป้าหมายเพื่อถวายคืนอ านาจแก่กษัตริย์อย่างชัดเจน
(หลวงโหญรอนราญ, 2492, น. 61-62) หรือกล่าวได้ว่า เป็นความขัดแย้งของฝ่าย
คณะราษฎรกับฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 (ณัฐพล ใจจริง, 2556,
น. 3-63)
ดังที่กล่าวเบื้องต้นว่าเมื่อมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นแล้ว
ได้มีการพยายามสร้างความหมายให้แก่ประชาธิปไตยในสังคมไทยของฝ่ายจารีต
ประเพณี โดยมีประเด็นร่วมกันคือ ต้องการสร้างความหมายว่า “กษัตริย์เป็นนัก
ประชาธิปไตย” นี่คือประเด็นร่วมกันของฝ่ายจารีตประเพณี แต่ประเด็นร่วมกันนี้มี
ความแตกต่างในการใช้ข้ออ้างที่ต่างกัน กล่าวคือ ระยะเริ่มต้น พ.ศ.2475 การพยายาม
สร้างความหมายว่ากษัตริย์เป็นนักประชาธิปไตยมิใช่การยืนยันโดยการอ้างว่า