Page 267 -
P. 267
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
248 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
คณะราษฎรจึงไม่ใช่สิ่งใหม่แต่อย่างใด อีกกระแสหนึ่งเป็นของฝ่ายที่เรียกว่า “นักคิด
2
ตะวันตก” ที่อธิบายว่า ประชาธิปไตยเป็นสิ่งใหม่ที่สังคมไทยยังไม่เคยมีมาก่อน การ
กระท าของพวกเขาจึงเป็น “การอภิวัฒน์” สร้างสิ่งใหม่ในสังคมไทยที่ไม่เคยมีมาก่อน
(นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2546, น. 80-120)
งานวิจัยที่ได้มีผู้ศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและการก่อตัว
ของการสร้างความหมายกษัตริย์นักประชาธิปไตย โดยมีงานส าคัญดังนี้ งานศึกษา
ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (2544) ในบทความ “พระราชหัตถเลขาสละราชย์ ร.7:
ชีวประวัติของเอกสารฉบับหนึ่ง” ได้ชี้ให้เห็นว่า เอกสารดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นและถูก
ตีความผิดจากบริบทเดิม จากการเป็นเอกสารต่อรองเพิ่มอ านาจระหว่างพระองค์กับ
คณะราษฎร จากสาเหตุความขัดแย้งเรื่องการเพิ่มพระราชอ านาจของพระองค์ในกรณี
แต่งตั้งสภาผู้แทนบางส่วนและการมีอ านาจคัดค้านกฎหมายที่ไม่เห็นชอบ ทว่ากลับ
เขียนและถูกอ่านนอกบริบทที่มันเกิด จนกลายเป็นเอกสารที่มีบทบาทและแสดงออกว่า
พระองค์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจากการตีความโดยคนกลุ่มต่างๆ ในเหตุการณ์ทาง
การเมืองที่อยู่นอกบริบทของการเกิดเอกสารดังกล่าว จนน าไปสู่การสร้างความหมาย
ของการเป็นกษัตริย์นักประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (2550) ศึกษา “กรณี ร.7 ทรงสละราชสมบัติ: การ
ตีความและการสานต่อความหมายทางการเมือง” ศึกษากรณีผู้คนในสังคมจัดการ
ความจริงในกรณีรัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติ ซึ่งเหตุการณ์นี้เองเป็นที่มาของเอกสาร
และข้อความวาทกรรมกษัตริย์นิยมประชาธิปไตยโดยชี้ให้เห็นว่า มีการจัดการความจริง
เปลี่ยนไปตามยุคสมัย กล่าวคือในช่วง 20 ปีแรกเน้นปัญหาที่เป็นข้อขัดแย้งระหว่าง
รัชกาลที่ 7 กับคณะราษฎรเป็นส าคัญ ขณะที่เนื้อหาว่าด้วยเรื่องพระมหากษัตริย์
นักประชาธิปไตยมีแพร่หลายน้อยมาก ซึ่งผิดกับพัฒนาการในระยะหลังจากนั้นที่ได้
2 กลุ่มนักคิดที่สนใจวิชากฎหมายและเศรษฐศาสตร์การเมือง เช่น ปรีดี พนมยงค์
ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้มีความเจริญอย่างเป็นสากลแบบตะวันตก ที่เน้นเสรีภาพ
สมภาพและภราดรภาพ โดยมีความเห็นทางการเมืองว่า ก่อน พ.ศ.2475 ลักษณะการเมือง
การปกครองไทยไม่มีสิ่งใดที่เรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ.2475 จึงเป็นการน าสิ่งใหม่ๆ มาสู่สังคมไทย จึงเรียกว่าเป็นการ “อภิวัฒน์”