Page 268 -
P. 268
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 249
เปลี่ยนประเด็นมาเน้นย ้าว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตยที่แท้จริง
ในขณะที่คณะราษฎรเป็นฝ่ายต้องการผูกขาดอ านาจและท าการปกครองโดยไม่ฟังเสียง
อันแท้จริงของประชาชน
ประจักษ์ ก้องกีรติ (2558ก) ในบทความ “24 มิถุนา ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม”
ศึกษาความเป็นมาของ “วาทกรรมกษัตริย์นิยมประชาธิปไตย” โดยชี้ให้เห็นว่า วาทกรรม
ดังกล่าวเริ่มต้นจากเอกสารสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ที่เป็นเอกสารต่อรองเพิ่ม
อ านาจระหว่างพระองค์กับคณะราษฎร ทว่ากลับเขียนและถูกอ่านนอกบริบทที่มัน
เกิดจนกลายเป็นว่าเป็นเอกสารที่มีบทบาทและแสดงออกว่ารัชกาลที่ 7 ต่อสู้เพื่อ
ประชาธิปไตย ซึ่งมีผลอย่างส าคัญต่อความคิดของนิสิตนักศึกษาในขบวนการเหตุการณ์
14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ข้อความดังกล่าวปรากฏบนหน้าปกจุลสารเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
ว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอ านาจอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมให้แก่ราษฎร
โดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอ านาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใด
โดยเฉพาะ เพื่อใช้อ านาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”
ซึ่งนับว่าเป็นตัวบทต้นทางว่าด้วยเรื่องก าเนิดประชาธิปไตยในสังคมไทยก าเนิดจาก
การพระราชทานรัฐธรรมนูญ ที่งานชิ้นอื่นๆ น าไปผลิตซ ้าและขยายความตามแต่ละ
บริบทรวมทั้งเป็นตัวบทต้นทางในการร่วมสร้าง “วาทกรรมกษัตริย์นิยมประชาธิปไตย”
เพื่อต่อต้านเผด็จการทหารและคณะราษฎรอย่างส าคัญในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
พ.ศ.2516
ประเด็นในการศึกษาของบทความนี้ไม่ใช่การชี้ให้เห็นพัฒนาการความ
เปลี่ยนแปลงที่มีผู้ศึกษามาก่อนแล้ว แต่พยายามชี้ให้เห็นจุดเปราะบางในการอ้าง
เหตุผลของฝ่ายจารีตประเพณีที่พยายามสร้างความหมายให้แก่ก าเนิดประชาธิปไตย
ในสังคมไทย เพื่อสร้างกรอบความคิดเรื่องกษัตริย์นักประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การสร้างความหมายแก่ก าเนิดประชาธิปไตยในสังคมไทยว่าก าเนิดจากการ
พระราชทานโดยกษัตริย์ว่ามีการอ้างเหตุผลอย่างไร ข้ออ้างเป็นจริงหรือไม่ แล้วข้ออ้าง
ขัดแย้งกับข้อสรุปหรือไม่