Page 266 -
P. 266
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 247
1. บทน า
ประชาธิปไตยในความหมายว่าประชาชนเป็นเจ้าของอ านาจสูงสุด เป็นระบบ
การเมืองที่ถูกขัดขวางด้วยระบอบอื่นๆ อยู่เป็นระยะๆ และไม่เป็นที่ต้อนรับนักจาก
ชนชั้นปกครองไทยนับตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บางเหตุผลบอกว่าไม่เหมาะ
กับสังคมไทยๆ อย่างเรา บางเหตุผลบอกว่าคนไทยยังไม่พร้อมเพราะขาดการศึกษา
ที่ถูกต้อง โดยไม่ได้มีการให้ค าตอบว่าการศึกษาที่ถูกต้องเป็นอย่างไรและเมื่อไรถึงจะ
เรียกว่าพร้อม (ประจักษ์ ก้องกีรติ, 2558ข, น. 5-28) ทว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน
หมู่นักคิดชนชั้นน าจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ต้องปรับตัวกับระบอบใหม่
โดยคณะราษฎรที่เกิดขึ้นเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 มีความน่าสนใจไปอีกทางหนึ่ง
กล่าวคือมีทัศนะต่อประชาธิปไตยที่ไม่ได้เป็นการต่อต้านประชาธิปไตยดังแต่ก่อน
ทว่าได้ปรับตัวต้อนรับเพื่อสร้างความหมายแก่ประชาธิปไตยเข้ากับระบอบกษัตริย์
อันมีแต่เดิม คือ มีการพยายามสร้างความหมายหนึ่งขึ้นว่า กษัตริย์ในสังคมไทยเป็น
นักประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ระบอบการเมืองประชาธิปไตยที่ไม่ได้รับการต้อนรับใน
ระยะก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จึงเริ่มได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
จากชนชั้นน าเก่า โดยวิธีการสร้างค าอธิบายสร้างความหมายแก่ระบอบใหม่ที่เรียก
โดยรวมว่าระบอบรัฐธรรมนูญหรือประชาธิปไตยนั้นว่ามีที่มาหรือก าเนิดอย่างไร
ค าอธิบายของนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (2546) แสดงว่า กระแสความคิดหนึ่ง
1
เป็นแนวคิดของฝ่ายที่เรียกว่า “จารีตประเพณี” ดังที่อธิบายว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่
สิ่งใหม่ แต่เป็นของเดิมที่มีอยู่แล้วในสังคมไทย การกระท าของคณะราษฎรจึงเป็น
เพียงการ “ปฏิวัติ” คือการหมุนย้อนกลับไปสู่รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ที่เคยมีอยู่แล้วในสังคมไทย โดยอ้างว่าการที่ในอดีตกษัตริย์ได้รับเลือกจากขุนนางชั้น
ผู้ใหญ่มีความหมายเท่ากับมีระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นจาก
1 กลุ่มนักคิดสายราชวงศ์และขุนนางที่ได้รับอิทธิพลความคิดตะวันตก เช่น
ม.จ.วรรณไวทยากร วรวรรณ, ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และมีความคิดเห็นทางการเมืองต่อระบอบ
ประชาธิปไตยว่า เป็นระบอบที่สังคมไทยมีมานานแล้ว ฉะนั้นการปฏิวัติ พ.ศ.2475 จึงไม่ใช่
เรื่องใหม่ แต่คือการย้อนกลับไปสู่ระบอบที่สังคมไทยเคยมีในอดีตจึงเรียกว่าการ “ปฏิวัติ”