Page 269 -
P. 269
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
250 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
2. วิเคราะห์ประวัติศาสตร์ว่าด้วยก าเนิดประชาธิปไตยในสังคมไทย
ความคิดความเชื่อที่ว่าจะมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญในความหมายว่า
เป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นการคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญโดยไม่ได้
ดูเนื้อหาสาระภายในของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่อ้างว่าเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ
แต่อย่างใด เพราะในระยะเริ่มต้นในช่วง พ.ศ.2475 นั้นยังไม่มีการค้นพบเอกสาร
การเมืองที่คิดเชื่อว่าจะเป็น “ร่างรัฐธรรมนูญ” ความเชื่อที่อ้างกันมาในเรื่องนี้น ามา
จากหนังสือ “เจ้าชีวิต” ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (2558) ที่ว่า “ฉันได้คิดรายการ
ละเอียดของพิธี (รัฐธรรมนูญ) นี้มาหลายปี เพราะรู้ดีว่าจะต้องเกิดขึ้นในรัชกาลของ
ฉัน ฉันร่างค าประกาศไว้ในใจฉันเป็นเวลานานมาแล้ว” กระทั่งภายหลัง 14 ตุลาคม
พ.ศ.2516 เบนจามิน เอ. แบ็ตสัน (Benjamin A. Batson) นักวิชาการที่ศึกษาการเมือง
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้ค้นพบเอกสารดังกล่าวในหอจดหมาย
เหตุแห่งชาติ ในชื่อ “ร่างเค้าโครงการเปลี่ยนรูปการปกครอง” (An Outline of Change
in the Form of the Government) (ประจักษ์ ก้องกีรติ, 2558ก, น. 30) และการอ้างเรื่อง
กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นมีความจ าเป็นที่ต้องดูเนื้อหาสาระ การก าหนดบทบาทและ
ค านิยามเรื่องอ านาจว่าเป็นอย่างไร และกฎหมายที่เป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
นั้นต้องก าหนดบทบาทและค านิยามเบื้องต้นที่ว่า อ านาจสูงสุดเป็นของราษฎร การอ้าง
ความเชื่อดังกล่าวเป็นต้นทางส าคัญที่สร้างค าอธิบายและภาพทางการเมืองที่ว่า หาก
คณะราษฎรไม่ท าการปฏิวัติแย่งชิงอ านาจไปจากการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ
หรือประชาธิปไตยไปจากกษัตริย์ บ้านเมืองก็คงไม่วุ่นวาย และการเปลี่ยนผ่านสู่
ประชาธิปไตยในสังคมไทยก็คงราบรื่น กล่าวอย่างกระชับคือ มีความคิดความเชื่อ
ที่ว่าประชาธิปไตยที่เกิดจากการพระราชทานนั้นจะราบรื่น ส่วนประชาธิปไตยที่เกิด
จากคณะราษฎรนั้นก่อความขัดแย้งวุ่นวาย เพราะเป็นเพียงการแย่งชิงอ านาจของ
กลุ่มการเมืองนักเรียนนอกกลุ่มหนึ่งจากการเตรียมการพระราชทานประชาธิปไตยแก่
ราษฎรโดยกษัตริย์
ทว่าจุดอ่อนของค าอธิบายแนวทางดังกล่าวอยู่ที่ว่า สิ่งที่อ้างว่าจะเป็นกฎหมาย
รัฐธรรมนูญมีเนื้อหาสาระอย่างไร จากการศึกษาของนักวิชาการจะเห็นได้ว่า เอกสาร