Page 274 -
P. 274

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   255


                        พร้อมใจกันอุปถัมภ์ค ้าชูให้เปนเจ้าแผ่นดินนั้นไป ด้วยว่าความที่
                        ได้เปนเจ้าแผ่นดินเพราะท่านผู้หลักผู้ใหญ่ค ้าชูอุดหนุนนั้น รู้อยู่
                        แก่ตา เห็นอยู่แก่ตาของคนเปนอันมากตรงๆ ไม่อ้างว่าอ านาจ
                        เทวดาแล้ว (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อ้างใน อรรถจักร์

                        สัตยานุรักษ์, 2555, น. 38)

                        ความหมายคือ รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่า ที่พระองค์ได้เป็นกษัตริย์นั้นเป็น
                 เพราะขุนนางผู้ใหญ่ต่างหากที่ท าให้พระองค์ได้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งก็หมายความ
                 ว่า ขุนนางผู้ใหญ่เป็นชุมชนทางการเมืองนั่นเอง นั่นคือพระองค์ทรงเปลี่ยนแปลง
                 ค าอธิบายเดิมและเปลี่ยนแปลงใหม่ จากเดิมที่เชื่อว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็น
                 พระโพธิสัตว์ซึ่งก าลังสั่งสมบุญบารมี ทรงปฏิเสธคติเทวสิทธิ์” ซึ่งจะท าให้พระองค์มี
                 อ านาจในตัวเอง มาเป็น “พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเป็นมนุษย์” และ “ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่ท่าน

                 พร้อมใจกันอุปถัมภ์ค ้าชูให้เปนเจ้าแผ่นดิน” (อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, 2555, น. 38-40)

                 5.  ข้ออ้าง: กษัตริย์ขึ้นครองราชย์จากหลักการ “อเนกนิกรสโมสร

                    สมมติ”

                        ตามลัทธินิยมของไทยนั้น พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัติโดย

                        ประชาชนเลือกตั้ง ดังมีความปรากฏในพระบรมนามาภิไธยของ
                        พระเจ้าแผ่นดิน... ในพระบรมนามาภิไธยของพระพุทธเจ้าหลวง
                        ยังมีความชัดอยู่ว่าอเนกชนนิกรสโมสรสมมต ซึ่งแปลว่า โดย
                        ประชาชนเลือกตั้ง... (ม.จ.วรรณไวทยากร วรวรรณ, 2475 อ้างใน
                        ณัฐพล ใจจริง, 2556, น. 79)


                        ข้ออ้างดังกล่าวนี้เป็นข้ออ้างของนักประวัติศาสตร์และปัญญาชนนักคิด
                 นักเขียนส านักจารีตประเพณี ที่อ้างว่า “ที่มาของอ านาจ” คือ พระมหากษัตริย์ไทย
                 ทรงขึ้นครองราชย์โดย “ความเห็นชอบของชุมชนการเมือง” หลักการดังกล่าวเรียกว่า

                 หลักการ “อเนกนิกรสโมสรสมมติ” เพื่อสร้างความหมายว่าประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งใหม่
                 แต่มีอยู่แล้วในสังคมไทยแต่เดิม การอ้างดังกล่าวนั้นคล้ายคลึงกับการอ้างของ พระยา
   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279