Page 277 -
P. 277
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
258 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
เป็นจริง เพราะข้ออ้างต่างชี้ว่าได้อ านาจมาจากแหล่งอื่น ข้ออ้างที่ว่า “พระมหากษัตริย์
ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งก าลังสั่งสมบุญบารมี” ที่จะท าให้กษัตริย์มีอ านาจในตัวเอง
จากการกระท าสะสมบุญบารมีกลับถูกปฏิเสธจากชนชั้นน าช่วงรัชกาลที่ 4 อันเป็นผล
มาจากการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์มาเป็นแบบมนุษยนิยมที่เน้นเหตุผลที่ประจักษ์ได้เป็น
รากฐานในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2555, น. 68-190) เป็นต้นมา
จึงท าให้ขาดข้ออ้างที่น่ารับฟังที่ว่า “อ านาจแต่เดิมเป็นของกษัตริย์” ในตัวเอง ที่ไม่ได้
อ้างจากแหล่งอื่น
6. บทสรุป
บทสรุปจึงอยู่ที่ว่า การวิเคราะห์ก าเนิดประชาธิปไตยในสังคมไทยจากแนวทาง
พระราชทานยังขาดความน่าเชื่อถือได้ในตอนนี้ จนกว่าจะหาหลักการมายืนยันได้ว่า
อ านาจแต่เดิมเป็นของกษัตริย์เป็นจริง เพราะข้ออ้างที่ใช้อยู่ทั้งของนักคิดฝ่ายจารีต
ที่ว่ากษัตริย์ได้อ านาจจากชุมชนทางการเมืองและของเอกสารสละราชสมบัติเองที่ว่า
ได้อ านาจจากการสืบราชสมบัติสันตติวงศ์ยังขาดความน่าเชื่อถือ เพราะข้ออ้างต่างชี้
ว่าอ านาจแต่เดิมไม่ใช่ของกษัตริย์ ในเมื่อไม่สามารถยืนยันได้ว่าอ านาจแต่เดิมเป็น
ของกษัตริย์ ก็เป็นไปไม่ได้ว่ามีการพระราชทานอ านาจแก่ประชาชน เพราะจะกลายเป็น
ให้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่ไป เพราะคนเราจะให้อะไรได้ ก็ต่อเมื่อเป็นเจ้าของสิ่งนั้นเสียก่อน
จากการวิเคราะห์ข้ออ้างที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นท าให้ประวัติศาสตร์ก าเนิดประชาธิปไตย
ในสังคมไทยที่ว่ามาจากการพระราชทานโดยพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความหมาย
กษัตริย์นักประชาธิปไตยจึงยังคงขาดความน่าเชื่อถือ