Page 246 -
P. 246

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   227


                 7.  ผลการวิจัย


                        ผลจากการศึกษาการอ้างเหตุผลผิดของกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่แสดง
                 ความคิดเห็นบนกระดานสนทนาของเว็บไซต์ดราม่าแอดดิคดอทคอมตามวัตถุประสงค์
                 ที่ตั้งไว้มีดังนี้


                 7.1  การอ้างเหตุผลผิดตามหลักตรรกศาสตร์

                        การอ้างเหตุผลผิดในทางตรรกศาสตร์ที่ผิดกฎนิรนัยและอุปนัยอย่างชัดเจน
                 เรียกว่า การอ้างเหตุผลผิดแบบปกติ (formal fallacy) ส่วนการอ้างเหตุผลผิดในงานวิจัย
                 นี้เป็นการอ้างเหตุผลผิดแบบไม่ปกติ (informal fallacy) ซึ่งเป็นการอ้างเหตุผลผิดใน
                 ชีวิตประจ าวัน โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ


                        1) การอ้างเหตุผลผิดทางรูปแบบ คือ การอ้างเหตุผลที่ไม่ถูกต้องตามหลัก
                 ความสมเหตุสมผลของการอ้างเหตุผลแบบนิรนัย
                        2) การอ้างเหตุผลผิดทางเนื้อหา คือ การอ้างเหตุผลซึ่งมีความบกพร่อง
                 ด้านเนื้อหา ได้แก่ ข้อมูลที่น ามาอ้างไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดข้อสรุป
                 นั้นๆ ได้ และข้ออ้างกับข้อสรุปไม่สัมพันธ์กัน ท าให้ข้อสรุปไม่มีน ้าหนักน่าเชื่อถือ
                        3) การอ้างเหตุผลผิดทางจิตวิทยา คือ การอ้างเหตุผลซึ่งน าสิ่งที่ไม่เป็นเหตุ
                 เป็นผลกับข้อสรุปมาเป็นข้ออ้าง เพื่อสร้างสถานการณ์ให้ผู้รับสารคล้อยตามด้วยอิทธิพล

                 ของอารมณ์แทนเหตุผล

                 7.2  การอ้างเหตุผลผิดจากกรณีศึกษา


                 7.2.1 กรณีศึกษาที่ 1 ลิขสิทธิ์เป็นของนอกกาย!!
                        มีสมาชิกพันทิป (pantip) คนหนึ่งตั้งกระทู้โดยแท็กห้องกล้องว่า เฟซบุ๊ก
                 แฟนเพจคานิวอลไทยแลนด์ (facebookfanpagecanivalthailand) ได้น าผลงานของ
                 ผู้อื่นไปใช้โดยไม่ขออนุญาต และเมื่อสมาชิกพันทิปคนอื่นตามไปดูก็พบว่าจริงและ
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251