Page 241 -
P. 241
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
222 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
2) การอ้างเหตุผลแบบอุปนัย (inductive argument) เป็นการน าความรู้ที่
เป็นความจริงเฉพาะมาเป็นข้ออ้าง ท าให้ข้อสรุปไม่ได้เกิดจากข้ออ้างโดยจ าเป็น แต่
เกิดโดยความน่าจะเป็น (probability) ซึ่งข้อสรุปที่ได้มีลักษณะเกินกว่าเนื้อหาในข้ออ้าง
ซึ่งก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือความรู้ทางปฏิบัติใน
ชีวิตประจ าวัน
แม้การอ้างเหตุผลทั้งสองแบบนี้จะแตกต่างกันที่หลักฐานข้อมูลที่น ามาอ้าง
แต่มีข้อเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ข้อสรุปของการอ้างเหตุผลทั้งสองแบบล้วนเกิด
จากการอนุมานเช่นเดียวกัน
6.3 ตรรกบท (syllogism)
2
ด ารงค์ วิเชียรสิงห์ (2542, น. 36-37) กล่าวว่า ตรรกบทเป็นรูปแบบมาตรฐาน
ของการอ้างเหตุผล ประกอบด้วยประโยคตรรก 3 ประโยค โดยมี 2 ประโยคเป็นข้ออ้าง
และ 1 ประโยคเป็นข้อสรุป ซึ่งประโยคตรรกทั้ง 3 ประโยคประกอบด้วยเทอม 3 เทอม
และแต่ละเทอมจะปรากฏ 2 ครั้ง
เทอมแต่ละเทอมที่มีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้
เทอมหลัก (major term) คือ เทอมแสดงของข้อสรุป
เทอมรอง (minor term) คือ เทอมประธานของข้อสรุป
เทอมกลาง (middle term) คือ เทอมที่ปรากฏ 2 ครั้งในข้ออ้างแต่ไม่ปรากฏ
ในข้อสรุป โดยเทอมกลางจะท าหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ของอีก 2 เทอมในข้ออ้างให้
มาสัมพันธ์กันในข้อสรุป
ตัวอย่าง
ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครอง
ระบอบการปกครองเป็นระบอบที่มีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง
2 ตรรกบท (syllogism) นั้นสามารถใช้ได้กับทั้งตรรกศาสตร์แบบนิรนัยและ
ตรรกศาสตร์แบบอุปนัย