Page 242 -
P. 242

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   223


                        ดังนั้น ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง

                        จากตัวอย่าง เทอมหลัก คือ “ระบอบที่มีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง” เทอมรอง
                 คือ “ระบอบประชาธิปไตย” และเทอมกลาง คือ “ระบอบการปกครอง”

                        โดยข้ออ้าง 2 ข้อของตรรกบทมีชื่อเรียกต่างกันดังนี้

                        ข้ออ้างหลัก (major premise) คือ ข้ออ้างที่เทอมหลักปรากฏอยู่
                        ข้ออ้างรอง (minor premise) คือ ข้ออ้างที่เทอมรองปรากฏอยู่

                        จากตัวอย่างข้างต้น ข้ออ้างหลัก คือ “ระบอบการปกครองเป็นระบอบที่มี
                 ข้อดีและข้อเสียในตัวเอง” และข้ออ้างรอง คือ “ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการ
                 ปกครอง”

                        ข้อควรระวัง คือ ข้ออ้างหลักและข้ออ้างรองไม่ได้ถูกก าหนดว่าข้ออ้างใด
                 ต้องมาก่อนหรือหลังเสมอไปในแต่ละตรรกบท แต่จะถือเอาเทอมหลักและเทอมรอง
                 เป็นตัวก าหนด


                 6.4  ตรรกบทแบบย่อ (enthymemes)

                        จิตรา ทับแสง (2529, น. 94-106) กล่าวว่า ตรรกบทแบบย่อ (enthymeme)
                 มาจากภาษากรีก en = ใน thymos = ใจ คือ ละไว้ในใจนั่นเอง โดยการอ้างเหตุผลรูปแบบ
                 นี้มีเพียง 2 ประโยคตรรกและละประโยคตรรกไว้ 1 ประโยค แบ่งได้เป็น 3 ประเภท

                 คือ การละข้ออ้างหลัก การละข้ออ้างรอง และการละข้อสรุป ซึ่งนิยมใช้สนทนาใน
                 ชีวิตประจ าวัน

                        ตัวอย่าง

                        ตรรกบท: แม่ค้าที่ไม่ท าตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกค้าเป็นผู้ละเมิดสัญญา
                 ทางการค้า
                               แม่ค้าคนนี้เป็นแม่ค้าที่ไม่ท าตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกค้า
                               ดังนั้น แม่ค้าคนนี้เป็นผู้ละเมิดสัญญาทางการค้า
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247