Page 244 -
P. 244
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 225
รังแกในพื้นที่ไซเบอร์นั้นส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคลและระดับปฏิสัมพันธ์ทาง
สังคม ในแง่ของการจัดการปัญหาดังกล่าวพบว่า เยาวชนมีการรับรู้ว่าจะจัดการ
ปัญหาด้วยตัวเองหรืออาจมีการปรึกษาเพื่อนๆ บ้าง แต่จะไม่ปรึกษาผู้ปกครอง และ
ประเด็นที่ต้องตระหนักคือปัญหาเกี่ยวกับการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ถูกมองว่าเป็น
เรื่องปกติในสายตาของเยาวชน
ธันยากร ตุดเกื้อ (2557) ได้ศึกษาการพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมการรังแกใน
พื้นที่ไซเบอร์ของเยาวชนในจังหวัดสงขลา พบว่า ตัวบ่งชี้พฤติกรรมการรังแกในพื้นที่
ไซเบอร์ของเยาวชนในจังหวัดสงขลามี 5 องค์ประกอบ คือ 1. การหมิ่นประมาทผู้อื่น
2. การน าความลับที่เป็นข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลของผู้อื่นไปเปิดเผย ซึ่งมีน ้าหนัก
องค์ประกอบมากที่สุด รองลงมาคือ 3. การแอบอ้างชื่อผู้อื่นในทางลบ 4. องค์ประกอบ
ด้านการนินทาหรือด่าทอผู้อื่น และ 5. การลบหรือบล็อกผู้อื่นออกจากกลุ่ม
นิพัทธ ผึ้งไผ่งาม (2557) ศึกษาการอ้างเหตุผลผิดในการโต้แย้งบนเว็บบอร์ด
พบว่า กลวิธีที่ใช้กันมากในการแสดงความคิดเห็น คือ การประชดประชันและการใช้
เหตุผลตามความรู้สึกของตนเอง ซึ่งเป็นกลวิธีที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว จึงสังเกต
ได้ว่า การอ้างเหตุผลผิดน่าจะเกิดจากการโต้แย้งที่ใช้ความรู้สึกของตนเองเป็นส่วนใหญ่
ท าให้การโต้แย้งนั้นกลายเป็นไม่สมเหตุสมผลในที่สุด
วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ และคณะ (2552) ได้ส ารวจพฤติกรรมการรังแกใน
พื้นที่ไซเบอร์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครแล้ว พบว่าเยาวชนไทยใน
ปัจจุบันแทบทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตได้อย่าง
กว้างขวางรวดเร็ว และมีความถี่ในการใช้งานมาก โดยผลการส ารวจชี้ว่า อุปกรณ์
เหล่านี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความรุนแรงและข่มเหงรังแกกัน และมีแนวโน้ม
ว่าพฤติกรรมการข่มเหงรังแกกันหากยังไม่มีการแก้ไขอาจจะกลายเป็นพฤติกรรมที่
เยาวชนเห็นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการข่มเหงรังแกนั้นเป็นพฤติกรรมที่เข้มข้นในหมู่
นักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน โดยกลุ่มนักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาที่มี
แนวโน้มกระท าการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์มากกว่ากลุ่มอื่นมักมาจากครอบครัวของ
บิดา/มารดาเลี้ยงเดี่ยว บิดา/มารดามีการศึกษาไม่สูงนักและมีอาชีพรับจ้างเป็นหลัก