Page 245 -
P. 245

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           226       Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


                 Chokwichien (2006) ศึกษาการอ้างเหตุผลผิดของกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตซึ่ง
          ศึกษาเฉพาะกรณีความคิดเห็นเชิงจริยธรรมบนกระดานข่าว พบว่า 1. มากกว่าครึ่ง
          (51.39%) ของการอ้างเหตุผลผิดแสดงให้เห็นถึงการขาดคุณสมบัติในการใช้เหตุผล
          ของผู้ใช้กระดานข่าว 2. การอ้างเหตุผลผิดประเภทการทวนค าถาม (38.46%) และ

          การตอบนอกประเด็น (25.64%) ถูกน ามาใช้จ านวนมากชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้กระดานข่าว
          ขาดความเข้าใจในประเด็นของค าถาม และ 3. การอ้างเหตุผลผิดประเภทการแย้งที่
          ตัวบุคคล พบมากเป็นอันดับที่ 3 (14.87%) การอ้างเหตุผลผิดประเภทนี้เป็นที่นิยม
          มากและพบได้แม้แต่ในกระดานข่าว


                 อมรทิพย์ อมราภิบาล (2559) พบว่า นิสิตตกเป็นเหยื่อของการรังแกใน
          พื้นที่ไซเบอร์และมีพฤติกรรมการรังแกผู้อื่นในพื้นที่ไซเบอร์ระดับต ่าถึงปานกลาง
          รูปแบบของการตกเป็นเหยื่อและพฤติกรรมการรังแกผู้อื่นมีหลากหลาย โดยข้อมูล

          ของเพศชายและเพศหญิงแตกต่างกันเล็กน้อย ผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์
          เชิงสาเหตุ พบว่า โมเดลที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับ
          พอใช้ ปัจจัยการมีพฤติกรรมรังแกผู้อื่นส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อมากที่สุด รองลงมา
          คือ พฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์เป็นผลทางอ้อมผ่านทางพฤติกรรมรังแกผู้อื่น ส่วน
          ปัจจัยที่ไม่ส่งผลคือ ภาวการณ์ขาดการปกป้อง และปัจจัยแรงจูงใจผู้กระท า ในด้าน

          ผลของการตกเป็นเหยื่อส่งผลทางสุขภาพจิตเชิงลบ และต่อการปรึกษาบุคคลที่สาม
          ส่งผลต่อสุขภาพจิตเชิงลบ ผลการเปรียบเทียบโมเดลของเพศชายและเพศหญิง
          แตกต่างกันเล็กน้อย

                 สรุปแล้ว งานวิจัยนี้แตกต่างจากงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องคือ กลุ่มตัวอย่างที่
          น ามาวิเคราะห์ในงานวิจัยนี้มาจากกระดานสนทนาของเว็บไซต์ดราม่าแอดดิคดอทคอม
          ซึ่งเน้นเรื่องประเด็นดราม่าและความเป็นนิรนามในการแสดงความคิดเห็น ท าให้ผู้แสดง
          ความคิดเห็นมีความยับยั้งช่างใจในการแสดงความคิดเห็นน้อยลง ซึ่งอาจเป็นการ

          แสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยค าที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังและน าไปสู่การรังแกใน
          พื้นที่ไซเบอร์ได้ แต่ขณะเดียวกันก็มีผู้แสดงความคิดเห็นบางคนที่แสดงความคิดเห็น
          อันเป็นสาระ แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างความคิดเห็นที่ใช้อารมณ์และความ
          คิดเห็นที่ใช้เหตุผลเพื่อปกป้องความคิดเห็นที่ตนเห็นด้วย
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250