Page 238 -
P. 238

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   219


                                 1
                 โดยเฉพาะด้านดราม่า  ซึ่งให้ความส าคัญแก่อารมณ์ความรู้สึกของผู้ร่วมเหตุการณ์
                 และผู้แสดงความคิดเห็นต่อกระทู้ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่สมเหตุสมผล
                 หรือไม่สมเหตุสมผลก็ตาม



                 2.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย


                        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                        1. เพื่อศึกษาการอ้างเหตุผลผิดทางตรรกศาสตร์
                        2. เพื่อศึกษาประเด็นการอ้างเหตุผลผิดในสังคมเครือข่ายออนไลน์ผ่าน
                 ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนกระดานสนทนาของเว็บไซต์ดราม่าแอดดิค
                 ดอทคอม

                        3. เพื่อวิเคราะห์การอ้างเหตุผลผิดของกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่แสดงความ
                 คิดเห็นบนกระดานสนทนาของเว็บไซต์ดราม่าแอดดิคดอทคอมด้วยหลักการทาง
                 ตรรกศาสตร์



                 3.  ขอบเขตของการวิจัย

                        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวกับแนวคิดและเกณฑ์การตัดสิน

                 ทางตรรกศาสตร์ตะวันตกเรื่องการอ้างเหตุผลผิดและความคิดเห็นบนกระดานสนทนา
                 ของเว็บไซต์ดราม่าแอดดิคดอทคอม ซึ่งผู้วิจัยเลือกศึกษาความคิดเห็นจากกระทู้จ านวน
                 3 กระทู้ คือ 1) ลิขสิทธิ์เป็นของนอกกาย!! 2) คุณชายหมอ และ 3) ลูกค้าขี้แพ้!! ซึ่งตั้งขึ้น
                 ใน พ.ศ.2556 เพื่อน ามาวิเคราะห์การอ้างเหตุผลผิดในชีวิตประจ าวันของกลุ่มผู้ใช้

                 อินเทอร์เน็ตที่แสดงความคิดเห็นบนกระดานสนทนาดังกล่าว

                        1  ดราม่า (drama) ย่อมาจาก dangerous reply and maybe annoying หมายถึง
                 การแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงและอาจก่อให้เกิดความน่าร าคาญ
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243