Page 115 -
P. 115
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
96 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
ตารางเปรียบเทียบข้างต้นแสดงให้เห็นว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
นราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงล าดับเหตุการณ์บางช่วงต่างไปจากฉบับรัชกาลที่ 2 คือทรง
น าเหตุการณ์ตั้งแต่ประสันตากลับไปทูลปันหยีเรื่องศึกระตูบุดสิหนาจนถึงปันหยีสั่งให้
เคลื่อนพลไปตั้งทัพที่ทุ่งท้ายเขา (หมายเลข 6-8) แยกออกมาอยู่ในชุดที่ 3 โดยเฉพาะ
ท าให้การยกทัพของปันหยีเด่นชัดมากขึ้นสมกับชื่อชุดที่ว่า “ยกทัพพระเยาวราช” และ
ท าให้การด าเนินเรื่องในชุดที่ 2 กระชับมากขึ้นด้วย เพราะมุ่งน าเสนอเฉพาะเหตุการณ์
ทางฝ่ายระตูบุดสิหนาเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังทรงตัดเนื้อหาบางช่วงออกเพื่อให้การแสดงกระชับขึ้นด้วย คือ
เหตุการณ์ตั้งแต่ตอนระตูปันจะรากันและระตูปักมาหงันรู้เรื่องที่ระตูบุดสิหนาถูกสังหาร
จนถึงตอนท าพระเมรุเผาศพระระตูบุดสิหนา (หมายเลข 13-15) ซึ่งเป็นรายละเอียด
ปลีกย่อยที่มิได้กระทบต่อการด าเนินเรื่องและปมปัญหาหลักของตอนนี้
5.2 สืบทอดบทร้อง เพลง และกำรเจรจำบำงส่วนจำกบทละครในเรื่องอิเหนำ
ฉบับรัชกำลที่ 2
ในการ “ปรุง” บทละครร าเรื่องอิเหนา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิป
ประพันธ์พงศ์ ทรงสืบทอดบทร้อง การบรรจุเพลง และการเจรจาบางส่วนจากบทละครใน
เรื่องอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 มาผสานกับส่วนที่ทรงสร้างสรรค์หรือก าหนดขึ้นใหม่
ส่วนที่ทรงสืบทอดมาจากฉบับรัชกาลที่ 2 มีดังต่อไปนี้
5.2.1 สืบทอดบทร้องจากฉบับรัชกาลที่ 2 แล้วปรับเปลี่ยนถ้อยค า
บทร้องส่วนใหญ่ในบทละครร าเรื่องอิเหนาฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
นราธิปประพันธ์พงศ์ มาจากบทร้องในบทละครในเรื่องอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2
โดยเฉพาะบทร้องที่มีความส าคัญต่อการแสดงกระบวนร า เช่น บทสระสรงทรงเครื่อง
ของปันหยีก่อนออกรบ บทพรรณนาการรบทวนระหว่างปันหยีกับระตูบุดสิหนา และ
บทพรรณนาตอนนางดะระสาแบหลา