Page 120 -
P. 120
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 101
บทร้องที่ทรงพระนิพนธ์ใหม่ทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นนี้ มีลักษณะส าคัญคือ
(1) เป็นบทร้องที่เล่าเนื้อความได้กระชับรวบรัดกว่าบทร้องตอนเดียวกันใน
ฉบับรัชกาลที่ 2 เช่น ตอนที่กล่าวแนะน าตัวละครระตูบุดสิหนาและระตูผู้เป็นพี่ชาย
จนถึงตอนที่กล่าวว่าระตูบุดสิหนากราบลาพระฤๅษีที่อาศรมแล้วกลับมาหานางดะระสา
ที่พลับพลา บทร้องตอนนี้ในฉบับรัชกาลที่ 2 มี 40 ค ากลอน ส่วนบทร้องที่ทรงพระ
นิพนธ์ขึ้นใหม่ทรงปรับให้กระชับขึ้นเป็น 12 ค ากลอน หรือในตอนที่นางดะระสากล่าว
ทัดทานระต บุดสิหนามิให้ออกรบ บทร้องตอนนี้ในฉบับรัชกาลที่ 2 มี 6 ค ากลอน ส่วน
บทร้องที่ทรงพระนิพนธ์ขึ้นใหม่มี 4 ค ากลอน
(2) เป็นบทร้องที่ท าให้เกิดนาฏการหรือกระบวนร าชุดใหม่ที่งามแปลกตา
บทที่เห็นได้ชัดคือ บทร้องฉุยฉายในตอนปันหยีเสด็จขึ้นพลับพลาที่ประทับในป่า ซึ่ง
ท าให้เกิดการร าฉุยฉายปันหยี บทร้องนี้ทรงพระนิพนธ์ขึ้น 2 บท อยู่ในชุดที่ 1 “ประพาศ
ป่า” ดังนี้
๏ ฉุยฉายเอย องค์อิเหนาเยาวะราช นาฎกราย พระหยิ่ม
ใจพริ้ง ทั้งหญิงทั้งชาย ดูร าถวาย บ าเรอรัษฐ์ โดยแบบบรรพ์
เปนขวัญเนตร เฉลิมประเทศ ฉลองเสวตระฉัตร น่าชื่นน่าชม
โศมะนัศ ปรีดิ์เปรมเกษมสวัสดิ์สยามเอยฯ
๏ องค์รเด่นเอย องค์ระเด่นมนตรี เฉลิมสง่าราศรี ชื่นชีวีชาว
สยาม ประสานสอดทอดกร ทั้งร าฟ้อนก็แสนงาม สมสมัย
ส าเริงเพลิงอร่าม ฝากชื่อลือนามนานเอยฯ
(พระศรี, ม.ป.ป., น. 3-4)
มีข้อสังเกตว่า บทแรกทรงก าหนดให้ร้องเพลงฉุยฉาย สวนบทที่สองที่
ขึ้นต้นว่า “องค์รเด่นเอย องค์ระเด่นมนตรี” มิได้ทรงระบุชัดว่าให้ร้องอย่างไร แต่เมื่อ
พิจารณาจากลักษณะค าประพันธ์ ก็สันนิษฐานได้ว่าคงมีพระประสงค์ให้ร้องเพลง
แม่ศรีตามขนบของการร าฉุยฉายที่ประกอบด้วยเพลงฉุยฉายและเพลงแม่ศรี