Page 121 -
P. 121
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
102 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
5.3.2 ก าหนดเพลงใหม่
บทละครร าเรื่องอิเหนาฉบับนี้มีเพลงหน้าพาทย์และเพลงร้องก ากับอยู่
ตลอดเรื่อง เพลงส่วนหนึ่งสืบทอดจากบทละครในเรื่องอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 ดังที่ได้
ศึกษาในหัวข้อ 5.2 ข้างต้น แต่เพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
นราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงบรรจุใหม่ ดังจะอธิบายต่อไปนี้
ก. เพลงหน้าพาทย์ที่ก าหนดใหม่
เพลงหน้าพาทย์ที่ทรงใช้ตรงกับฉบับรัชกาลที่ 2 มีอยู่ 11 ตอน ดังได้ศึกษา
ในหัวข้อ 5.2 ข้างต้น ส่วนตอนนอกเหนือจากนั้นทรงก าหนดเพลงเข้าไปใหม่ ซึ่งมี
ลักษณะส าคัญ ดังนี้
(1) ทรงบรรจุเพลงหน้าพาทย์ในตอนที่ฉบับรัชกาลที่ 2 มิได้บรรจุเพลง
หน้าพาทย์ไว้ เช่น ตอนทหารฝ่ายปันหยีและระตูบุดสิหนารบพุ่งกันจนพลของระตูล้ม
ตายจ านวนมาก ทรงระบุเพลง “เชิด” และ “โอด” ขณะที่ฉบับรัชกาลที่ 2 มิได้ระบุชื่อ
เพลงไว้
(2) ทรงบรรจุเพลงหน้าพาทย์ต่างไปจากฉบับรัชกาลที่ 2 เช่น ตอนทหาร
ฝ่ายปันหยีและระตูบุดสิหนายกทัพกรูเข้ารบกันจนเสียงดังสนั่นป่า ทรงบรรจุเพลง
“รัว” ขณะที่ฉบับรัชกาลที่ 2 ใช้เพลง “เชิด”
(3) ไม่ทรงบรรจุเพลงหน้าพาทย์ในตอนที่ฉบับรัชกาลที่ 2 ใส่เพลงหน้าพาทย์
ไว้ เช่น ตอนประสันตาชวนบ่าวเดินเข้าไปสอดแนมใกล้พลับพลาของระตูบุดสิหนา
ทรงเว้นไว้ไม่ใส่เพลงหน้าพาทย์ ขณะที่ฉบับรัชกาลที่ 2 บรรจุเพลง “เสมอ” ในตอนนี้
(4) ทรงน าเพลงหน้าพาทย์มาใช้ในการเปิดเรื่องหรือปิดเรื่องแต่ละชุด
กล่าวคือ ชุดที่ 1 ทรงปิดชุดด้วยเพลง “เร็ว” และ “ลา” ชุดที่ 2 ทรงเปิดชุดด้วยเพลง
“สมิงทองมอญ” และปิดชุดด้วยเพลง “เสมอ” ชุดที่ 3 ทรงปิดชุดด้วยเพลง “กราวนอก”
ชุดที่ 4 ทรงเปิดชุดด้วยเพลง “กราวนอก” และปิดชุดด้วยเพลง “โอด” และชุดที่ 5
ทรงเปิดชุดด้วย “กลองโยน” และปิดชุดด้วยเพลง “กลองแขก” และ “โอด” นอกจากนี้
ระหว่างที่ปิดม่านชุดที่ 2 และรอเปิดม่านชุดที่ 3 ทรงก าหนดให้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์
“กราวนอก” และ “เชิด” ด้วย การบรรจุเพลงหน้าพาทย์ในตอนเปิดและปิดเรื่องแต่ละ
ชุดดังกล่าวนี้ ทรงเลือกเพลงที่สัมพันธ์กับกิริยาอาการหรือบทบาทของตัวละครใน