Page 57 -
P. 57
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
46 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
จากตัวอย่างข้างต้นใช้เพลงหน้าพาทย์โอด ใช้กับกิริยาร้องไห้หรือ
อารมณ์เศร้า เสียใจ โดยในบริบทของเรื่องเป็นตอนที่พระวงศ์เทวราชรู้สึกโศกเศร้า
ในการต้องห่างจากมารดา ซึ่งกลับคืนไปยังสวรรค์
2) เพลงส าหรับร้อง โดยบทเพลงต่างๆ ที่จะบรรจุหรือบอกก ากับไว้นี้
ชื่อบทเพลงจะบอกไว้ในตอนต้นของวรรคสดับ (วรรคแรกในการพรรณนาแต่ละ
ตอน)
ตัวอย่างในเรื่องวงศ์เทวราช เช่น
ร่าย
๏ มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวนพสูรใจหาญ
เก้าเศียรสิบหกกรอันไชยชาญ พระยามารเรืองฤทธิไกร
ครองสมุทรบุรีคีรีเรือง อันบ้านเมืองมณฑลก็กว้างใหญ่
พันโยชน์โดยขนาดนั้นเล่าไซร้ อยู่แทบใกล้ทเลลมยมนา[…]
(หลวงพัฒนพงศ์ภักดี, 2469: 65)
จากตัวอย่างเพลงร่าย เป็นเพลงที่ใช้ในการด าเนินเรื่อง ในขณะเดียวกัน
บางครั้งผู้ประพันธ์อาจไม่ได้ก าหนดเพลงลงไปในแต่ละบท หรือแต่ละวรรคเพราะ
เป็นอันทราบดีว่าหากมิได้ก าหนดเพลงก็จ าต้องใช้การร้องร่ายเป็นพื้น ดังวินิจฉัย
ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่มีต่อพระยาอนุมานราชธน
(2552: 302) ความว่า
อันละครที่แท้นั้น เขาใช้ร้องร่ายเปนยืนพื้น ที่ร้องล านั้นใช้
น้อยที่สุด ครูเหมือนจะมีจ ากัด จัดได้เปน 2 อย่างคือ
1. ร้องเพื่อให้หรู มีร้องลงโรง ร้องลงสรง ร้องจัดพล ร้องรถ
ร้องม้า ร้องชมอะไรต่างๆ เปนต้น พวกนี้เปนของแถม ไม่สู้เปน
เนื้อเรื่อง แต่งเปนค าไพเราะเพื่อร้องเล่นให้หรู แม้จะตัดออกเสียก็
ตัดได้ ไม่เสียเรื่อง และโดยมากที่ละครเขาเล่นเขาก็มักจะตัดทิ้ง
ไม่เอาเพราะเห็นเสียเวลา