Page 54 -
P. 54
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 43
นางมาครองอย่างชอบธรรม ส่วนแนวคิดรองๆ เป็นเรื่องของการใช้เล่ห์เพทุบายใน
ด้านต่างๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการและชนะการต่อสู้ รวมถึงแนวคิดเรื่องกรรมและ
การยึดมั่นในพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้แต่งให้ความส าคัญด้วย
แนวคิดเหล่านี้เป็นแนวคิดดั้งเดิมที่เป็นพื้นฐานของนิทานค ากลอนใน
อดีตตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักในการสร้างวรรณกรรม
ประเภทนิทานค ากลอนก็เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน กล่อมเกลาอารมณ์ของ
ผู้อ่าน บทละครที่สร้างขึ้นโดยมีพื้นฐานมาจากแนวคิดของนิทานค ากลอนนั้นเป็นที่
นิยมอย่างแพร่หลายในอดีตโดยเฉพาะในสังคมยุคต้นรัตนโกสินทร์ที่เริ่มมีงาน
วรรณกรรมเพื่อความบันเทิงซึ่งเป็นลายลักษณ์มากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากงาน
นิทานค ากลอนและบทละครเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ขึ้นจากจินตนาการ เรื่องเล่า
ท้องถิ่น หรือต านานดั้งเดิมจึงมีลักษณะแนวคิดที่สัมพันธ์กับบริบทของวิถีชีวิตของ
คนไทย แนวคิดที่ปรากฏในเรื่องเหล่านี้ส่วนหนึ่งอาจดูเป็นเพียงแนวคิดที่ซ้ าๆ กัน
โดยเฉพาะหากเป็นเรื่องที่มีต้นเค้ามาจากชาดกก็มักจะเน้นเรื่องค่านิยมของความดี
คุณธรรมและการด ารงตนเหมาะสมแก่บทบาทหน้าที่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหวังเป็น
สื่อหนึ่งในการขัดเกลาคนในสังคม ในขณะที่หากเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ขึ้นจาก
จินตนาการ ต านานหรือนิทานพื้นบ้าน จะเป็นแนวคิดที่สะท้อนความเป็นจริงของ
การใช้ชีวิต ความดี-ความชั่ว ปัญหาและอุปสรรคหลากหลายรูปแบบ การแก่งแย่ง
ชิงดี อิจฉาริษยา อยากได้ใคร่มี ความพึงพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง เหล่านี้เป็น
เรื่องของกิเลสของมนุษย์อันเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการสร้างสรรค์งาน และหาก
ผู้แต่งอาศัยจินตนาการประกอบ และมีชั้นเชิงในการเล่าเรื่องประกอบการลีลาภาษา
ก็ย่อมท าให้วรรณกรรมมีความสนุกสนาน น่าสนใจติดตาม และเร้าอารมณ์ สร้าง
ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่านได้ แนวคิดเหล่านั้นจึงยังปรากฏวนเวียนอยู่ในวรรณกรรม
บันเทิงคดีอย่างต่อเนื่องยาวนาน
\
วิธีการเล่าเรื่องและแนวคิดในบทละครเรื่องวงศ์เทวราชนี้ น าเสนอให้เห็น
ว่าผู้แต่งยังคงยึดถือวิธีการแต่งและเล่าเรื่องตามแบบบทละครในยุคก่อน
โดยเฉพาะบทละครในยุคต้นรัตนโกสินทร์ที่เน้นความสมบูรณ์ของเนื้อหา