Page 56 -
P. 56
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 45
ตอนๆ ไป แต่ว่าแต่งไว้เป็นเรื่องยาวที่เรารู้จักกันดี เช่น บทละครรามเกียรติ์
อิเหนา เป็นต้น เมื่อจะมีการแสดงในโอกาสใด เจ้าของละครหรือนายโรงจะตัดตอน
ใดจากเรื่องใดจะเหมาะแก่โอกาส และเหมาะแก่ตัวละครของตนดังที่ได้กล่าวไป
การแสดงเริ่มด้วยปี่พาทย์โหมโรงจบก็จับเรื่อง ละครนอกมีจุดมุ่งหมายที่
จะด าเนินเรื่องรวดเร็วและให้ตลกขบขัน บางครั้งถึงหยาบโลน ช่องทางใดจะเล่น
ตลกได้ก็เล่นตรงนั้นนานๆ ตัวกษัตริย์ ท้าวพระยาและนางในอาจเล่นคลุกคลีกับ
เสนาได้ บทประพันธ์มีลักษณะรวบรัด ใช้ถ้อยค าอย่างชาวบ้านหรือเรียกว่าค า
ตลาดเป็นพื้น เปิดช่องให้เล่นตลกได้มากๆ การร่ายร าก็ต้องว่องไวกระฉับกระเฉง
ถ้ามีบทพูดแทรกตัวละครพูดเองทั้งการด าเนินเรื่องและเล่นตลก บางบทร้องเองก็มี
(เสาวณิต วิงวอน, 2555: 87) ทั้งนี้จะมีเพลงประกอบการแสดง 2 ประเภท คือ
1) เพลงหน้าพาทย์ คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกิริยาของตัวละคร
หรือใช้ส าหรับอัญเชิญพระเป็นเจ้า ฤๅษี เทวดาและครูบาอาจารย์ทั้งหลายให้
มาร่วมในพิธีไหว้ครู โดยทั่วไปไม่มีบทร้อง ใช้บรรเลงแต่ท านองดนตรีอย่างเดียว
ชั้นหลังได้บรรจุบทร้องเข้าไปบ้าง เช่น บรรจุเพลงตระนิมิตที่อยู่ในเรื่องรามเกียรติ์
ตอนแผลงศรพรหมาสตร์ เป็นต้น
ตัวอย่างในเรื่องวงศ์เทวราช เช่น
๏ เมื่อนั้น วงศเทวราชฤทธิไกรใจหาญ
ตั้งแต่องค์สมเด็จมัฆวาฬ เสด็จไปสู่สถานวิมานบน
ให้คะนึงถึงองค์พระชนนี ป่านฉะนี้มิได้แจ้งซึ่งเหตุผล
ไปอยู่ด้วยพันตาเจ้าสากล จะทุกข์ทนฤๅจะเปนประการใด
เคยอยู่ศุขเกษมประสายาก มาพลัดพรากด้วยเวรามาซัดให้
โอ้เวรกรรมลูกได้ท าอย่างไรไว้ พระแม่เจ้าจึ่งได้จากจร
คิดพลางทางสอึกสอื้นไห้ ถอนฤๅไทยอ่อนพับลงกับหมอน
แล้วหวลโหยโรยราด้วยอาวรณ์ พระภูธรยิ่งทรงโศกีฯ
ฯ โอด 8 ค าฯ
(หลวงพัฒนพงศ์ภักดี, 2469: 52)