Page 55 -
P. 55
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
44 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
เนื่องจากยุคต้นรัตนโกสินทร์เป็นยุคของการรวบรวม ฟื้นฟู สร้างความสมบูรณ์ใน
ด้านต่างๆ รวมถึงวรรณกรรมด้วย อีกทั้งเริ่มเป็นสังคมแห่งการอ่าน วรรณกรรมที่
เกิดขึ้นในยุคนี้ก็เป็นเริ่มเป็นวรรณกรรมเพื่อการอ่านมากยิ่งขึ้น รวมถึงอีกเหตุผล
หนึ่ง คือ “กลอนบทละครยังเป็นรูปแบบของวรรณกรรมที่เหมาะสมแก่การอ่านเอา
เรื่องราวเพื่อความบันเทิงอีกด้วย เพราะกลอนบทละครเป็นค าประพันธ์ที่ไม่
ซับซ้อน ด าเนินเรื่องราวได้ชัดเจน” (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2555: 57) วิธีการเล่าเรื่อง
และแนวคิดของบทละครที่สอดคล้องไปกับแนวทางการแต่งบทละครในยุคก่อน ท า
ให้บทละครเรื่องวงศ์เทวราชยังมีความแพร่หลายในหมู่คนที่ยังนิยมอ่านประโลม
โลกเพื่อความบันเทิงใจของตนอยู่ โดยเฉพาะในหมู่นักอ่านหนังสือวัดเกาะ เป็นต้น
3. แบบแผนการแสดงละคร
แบบแผนการแสดงละครมีความสอดคล้องกับการแต่งบทละครมาตลอด
โดยบทละครที่สร้างสรรค์ขึ้นอาจมีวัตถุประสงค์หลักในการแสดงละครแต่ละครั้ง
ท าให้ผู้แต่งให้ความส าคัญกับการแต่งบทไปพร้อมๆ กับการคิดท่าร าให้งดงาม
อาทิ บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ที่มุ่งเน้นการแต่งประกอบการร่ายร า
ในขณะที่บทละครบางเรื่องอาจแต่งขึ้นเพื่อความสมบูรณ์และหากต้องการหยิบ
ยกขึ้นมาเล่นคราวใดก็ขัดเกลาให้เกิดความเหมาะสมกับกระบวนการแสดง ซึ่งการ
จะแสดงละครนั้น เจ้าของคณะหรือนายโรงมักจะเป็นผู้เลือกเรื่องที่จะแสดงตามแต่
โอกาส ความนิยม และตัวแสดงของตนเองที่มีอยู่ว่าเหมาะกับเรื่องราวลักษณะใด
(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ, 2546: 344) โดยมาก
คณะละครทั้งหลายมักจะมีผู้แต่งบทละครประจ าอยู่แล้ว บทละครนั้นหากมิได้มีการ
หยิบเอาวรรณกรรมที่มีอยู่แล้วมาปรับใหม่ให้เป็นบทละครเพื่อแสดง ผู้แต่งบท
ละครประจ าคณะอาจแต่งบทละครขึ้นมาใหม่ทั้งเล่มเพื่อเตรียมแสดงก็เป็นได้ บท
ละครเรื่องวงศ์เทวราชก็เช่นเดียวกันคาดว่าอาจก าเนิดขึ้นเพื่อเป็นเรื่องเต็มก่อนที่
จะตัดตอนมาปรับเล่นเป็นบทๆ ไป ทั้งนี้ละครที่แสดงได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับ
องค์ประกอบนานาประการ เริ่มต้นก็ต้องมีเรื่องที่จะแสดง เรื่องที่จะแสดงนี้ก็ต้อง
ประพันธ์ขึ้นเป็นบท บทละครร านั้นโดยมากไม่ได้แต่งไว้เป็นเฉพาะการแสดงเป็น