Page 51 -
P. 51

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          40       วารสารมนุษยศาสตร

          สรุปผลและขอเสนอแนะ
                 การศึกษาอุปลักษณของคําวา “กิเลส” ในภาษาไทย โดยใชขอมูลจากงาน
          เขียนทางวิชาการ งานเขียนกึ่งวิชาการ เรื่องแตง  หนังสือพิมพ  และเบ็ดเตล็ด ใน
          คลังขอมูลภาษาไทยแหงชาติ (Thai  National  Corpus)  ของภาควิชาภาษาศาสตร
          คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนั้น ทําใหพบวา ผูใชภาษาไทยมีการใช
          ถอยคําอุปลักษณที่สะทอนมโนทัศนเกี่ยวกับกิเลส 9 มโนอุปลักษณ ไดแก [กิเลส

          คือ สิ่งมีชีวิต] [กิเลส คือ วัตถุสิ่งของ] [กิเลส คือ ศัตรู] [กิเลส คือ สิ่งสกปรก] [กิเลส
          คือ สิ่งลอตาลอใจ] [กิเลส คือ ไฟ] [กิเลส คือ ความมืดมัว] [กิเลส คือ ของเหลว] และ
          [กิเลส คือ โรค] ทั้งนี้มโนทัศนตางๆ สะทอนมุมมองความคิดหรือความเขาใจ
          เกี่ยวกับกิเลสดวยวา กิเลสเปนสิ่งที่มนุษยจะตองตระหนักรูและหลีกเลี่ยง รวมทั้ง
          มนุษยยังจะตองดํารงจิตของตนใหอยูในความถูกตองจึงจะหลุดพนจากกิเลส
          เพื่อที่จะใหบรรลุเปาหมายในชีวิต นั่นคือ การที่มนุษยมีจิตใจที่ผองใสและปราศจาก
          กิเลส ซึ่งสอดคลองกับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่วา กิเลสเปนสาเหตุของการทําให
          จิตใจของมนุษยเศราหมองและขัดขวางความเจริญทางจิต กลาวคือ มนุษยจะถูก
          กระตุนหรือเรงเราจากกิเลสที่อยูภายในจิตใจทําใหแสดงพฤติกรรมตางๆ ออกมา
         ตามเงื่อนไขของกิเลสซึ่งเปนตนตอทําใหชีวิตของมนุษยเกิดปญหาทั้งในระยะสั้น
         และระยะยาว ดวยเหตุนี้มนุษยจึงตองควบคุม ระงับและปองกันกิเลส เพื่อมิใหกิเลส
          ตางๆ เกิดขึ้นและครอบงําจิตใจของตน ดวยการใชหลักไตรสิกขาเปนแนวทางในการ
          แกปญหาเพื่อที่จะนําพาชีวิตของตนใหพบแตความสุข (พระมหาธีระพล สุขแสง,
          2546)

                 ดังนั้นการที่จะสอนใหมนุษยเขาใจและตระหนักรับรูถึงสิ่งที่เปนนามธรรม

          ไดงายขึ้นนั้นจําเปนจะตองใชอุปลักษณเปนเครื่องมือในการอธิบายและถายทอด
          ความหมายไปสูกลุมคนซึ่งอยูในสังคมและวัฒนธรรมเดียวกันจึงจะสามารถรับรูและ
          เขาใจความหมายของสิ่งที่เปนนามธรรมนั้นไดตรงกัน

                 การศึกษาในครั้งนี้จึงเปนเครื่องยืนยันใหเห็นวา ผูสงสารซึ่งเปนผูใช
          ภาษาไทยมีการรับรูและเขาใจความหมายของคําวา “กิเลส” และใชอุปลักษณเปน
          เครื่องมือหรือเปนกลวิธีที่จะชวยในการอธิบายและถายทอดความหมายของคําวา
         “กิเลส” ไปยังผูรับสารเพื่อใหเกิดการรับรูและเขาใจความหมายของคําวา “กิเลส” รวมกัน
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56