Page 50 -
P. 50

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                    ปที่ 19 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555)   39

                จิตใจที่บริสุทธิ์ผองใสและปราศจากกิเลสซึ่งเปนปญหาและอุปสรรคในการใชชีวิต
                ของมนุษย มุมมองดังกลาวสะทอนจากคุณลักษณะเดนทางความหมาย (salient
                feature) บางประการที่เชื่อมโยงเขากับมโนอุปลักษณตางๆ ไดแก [กิเลส คือ สิ่งมีชีวิต]
                สะทอนใหเห็นวา หากมนุษยตองการมีจิตใจที่ผองใสและปราศจากกิเลส มนุษยตอง
                ไมตกอยูภายใตอํานาจหรือไมใหกิเลสเหลานั้นครอบงํา  นอกจากนี้ในสวนของมโน
                อุปลักษณ [กิเลส คือ ศัตรู]  ยังสะทอนใหเห็นวา หากมนุษยสามารถขจัดกิเลสหรือ
                ระงับกิเลสซึ่งเปนปญหาและอุปสรรคสําคัญในชีวิตได จิตใจของมนุษยก็จะผองใส
                เมื่อจิตใจของมนุษยผองใส มนุษยก็จะดํารงชีวิตอยางเปนสุข อยางไรก็ตาม การใช
                มโนอุปลักษณ [กิเลส คือ สิ่งสกปรก]  ยังสะทอนใหเห็นวา กิเลสเปนสิ่งที่มนุษยไม

                ตองการ มนุษยตองรูจักชําระลางกิเลสเหลานั้น ทั้งนี้หากมนุษยสามารถชําระลาง
                หรือกําจัดกิเลสเหลานั้นไดหมด จิตใจของมนุษยก็จะผองใสขึ้น ในสวนของการใช
                มโนอุปลักษณ [กิเลส คือ ความมืดมัว] ยังสะทอนใหเห็นวา จิตใจของมนุษยขุนมัว
                เพราะมีกิเลสเขามาปกคลุม ดังนั้นมนุษยจึงจะตองรูจักจัดการหรือระงับกิเลสเพื่อให
                จิตใจของตนสะอาดและผองใส   นอกจากนี้ผูวิจัยยังพบวา มีการใชมโนอุปลักษณ
                [กิเลส คือ โรค] ซึ่งสะทอนใหเห็นวา กิเลสเปนตัวการสําคัญที่ทําใหจิตใจของมนุษย
                เสื่อมโทรมเปรียบเสมือนโรครายที่ตองเยียวยาหรือบําบัดรักษาใหจิตใจของมนุษยดี
                ขึ้นและผองใสขึ้น

                       จากมุมมองที่กลาวมาทั้งหมดขางตนจะเห็นวา มโนอุปลักษณตางๆ
                สะทอนมุมมองวา กิเลสเปนสิ่งที่มนุษยจะตองระงับหรือขจัดออกจากจิตใจดวยการ
                ใชสติและปญญากําหนดจิตแลวดํารงชีวิตใหอยูในทางสายกลางเพื่อที่จะทําใหจิตใจ
                ของตนนั้นบริสุทธิ์และปราศจากกิเลส ดังที่ พุทธทาสภิกขุ (2550: 147-158) กลาววา
                “ธรรมชาติของจิตมนุษยนั้นไมมีกิเลส แตกิเลสจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษยเกิดความยินดี
                ยินราย การทําใหจิตถูกตองและปราศจากกิเลสนั้น มนุษยจะตองไมเปดโอกาสให

                กิเลสครอบงํา กลาวคือ มนุษยตองมีสติสัมปชัญญะ ดํารงจิตใหตั้งอยูในลักษณะ
                กลางๆ ไมยึดมั่นถือมั่น ใชปญญาและรูตัวทั่วพรอมอยูตลอดเวลา จิตใจของมนุษย
                จึงจะบริสุทธิ์ผองใส”
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55