Page 91 -
P. 91
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
80 วารสารมนุษยศาสตร์
บทสรุป
สังคมไทยยุควงวรรณคดี (พ.ศ. 2489-2495) เป็นยุคที่กลุ่มอนุรักษนิยม
กลับมามีบทบาทหรืออ านาจขึ้นอีกครั้งหลังจากยุติไปภายหลังการเปลี่ยนแปลง
การปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงยุคที่จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
สมัยแรก ดังจะเห็นได้จากการที่กลุ่มอนุรักษนิยมเริ่มมีอ านาจทางการเมืองโดยรวม
ตัวกันก่อตั้งพรรคการเมืองอย่างพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาโจมตีการท างานของ
คณะรัฐบาลที่มาจากคณะราษฎร จนท าให้รัฐบาลของคณะราษฎรถูกทหารท า
รัฐประหาร และต่อมายังได้ตรากฎหมายโดยเพิ่มพระราชอ านาจให้แก่
พระมหากษัตริย์ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 อีกด้วย ในขณะที่นักอนุรักษนิยม
กลุ่มหนึ่งก าลังคืนสู่อ านาจในการฟื้นสถานะให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ผ่าน
กลไกทางการเมืองอยู่นั้น ยังมีนักอนุรักษนิยมอีกกลุ่มหนึ่งก าลังฟื้นสถานะให้แก่
สถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านวงการวรรณกรรม กลุ่มอนุรักษนิยมกลุ่มดังกล่าวคือ
ผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาและวรรณคดีไทยของสมาคมวงวรรณคดีที่ได้พยายามฟื้น
สถานะให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์โดยการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ พระปรีชา
สามารถ และพระจริยวัตรของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสู่สาธารณชนลงใน
วารสารวงวรรณคดี ดังปรากฏอยู่ในเรื่องหรือเนื้อหาประเภทต่างๆ ของวารสารอยู่
เป็นจ านวนมาก อาทิเช่น เรื่องประเภทแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
ทั้งที่ปรากฏอยู่ในค าประพันธ์ร้อยกรอง ร้อยแก้ว และภาพถ่าย เรื่องประเภทให้
ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มีการคัดลอกพระราชนิพนธ์ของ
พระมหากษัตริย์หรือพระนิพนธ์ของพระบรมวงศานุวงศ์เพื่อแสดงให้เห็นว่า
พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ เรื่องประเภทให้ความบันเทิงดัง
ปรากฏอยู่ในรูปแบบของเรื่องสั้นโดยมีเนื้อหามุ่งแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบัน
พระมหากษัตริย์ เรื่องประเภทวรรณคดีวิจารณ์ที่มีการน าวรรณคดีที่
พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงแต่งขึ้นมาวิจารณ์แนวสุนทรียะที่มุ่ง
พิจารณาความไพเราะของเสียง ความหมายของค า ส านวนโวหารและรูปแบบทาง
ฉันทลักษณ์ตามแนวทางของวรรณคดีสโมสร ทั้งนี้เพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่อง
พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ว่าทรงมีพระปรีชาสามารถในทางกวี และ