Page 90 -
P. 90

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                         ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)   79

                ซึ่งการวิจารณ์แนวสุนทรียะเป็นแนวทางที่นักวิจารณ์ของวงวรรณคดีนิยมน ามา
                วิจารณ์วรรณคดีโบราณหรือวรรณคดีร้อยกรองมากที่สุด โดยพิจารณาความ
                ไพเราะของเสียง ความหมายของค า ส านวนโวหารและรูปแบบทาง ฉันทลักษณ์

                ตามแนวทางของวรรณคดีสโมสร นอกจากนี้ยังพบว่าหม่อมราชวงศ์สุมนชาติ
                สวัสดิกุล แกนน าในการก่อตั้งวงวรรณคดียังเป็นผู้ต่อต้านแนวคิดของลัทธิมากซ์
                อีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก “ได้รับค าสั่งไปร่วมปฏิบัติการพิเศษกับอธิบดีกรมต ารวจ
                เพื่อติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐอเมริกาที่มาปฏิบัติราชการลับ เพื่อเตรียมงาน
                ในด้านสงครามจิตวิทยาและงานในกรมประมวลราชการแผ่นดินให้ร่วมมือกับ
                ราชการต ารวจรักษาความสงบเรียบร้อยในกรณีเกี่ยวกับการแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์

                ในมหาวิทยาลัยในปี 2495” (โสภา ชานะมูล,  2546 :139)  ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่านัก
                วิจารณ์ของวงวรรณคดีมุ่งธ ารงวรรณคดีโบราณของไทยไว้โดยละเว้นที่จะกล่าวถึง
                แนวทางการวิจารณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิ แนวลัทธิมากซ์ และ
                นอกจากนี้นักวิจารณ์ของวงวรรณคดียังมีการธ ารงวรรณคดีโบราณหรือวรรณคดี
                ร้อยกรองโดยการปฏิเสธที่จะน าวรรณกรรมสมัยใหม่อย่างนวนิยายมาแนะน าหรือ

                วิจารณ์ ทั้งๆ ที่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  เป็นยุคที่นวนิยายและเรื่องสั้นก าลัง
                ได้รับความนิยม และจากการศึกษาวารสารวงวรรณคดีไม่พบว่ามีการน า
                วรรณกรรมดังกล่าวมาแนะน าหรือวิจารณ์ไว้ในวารสารเลย กล่าวได้ว่าวารสารวง
                                                             5
                วรรณคดีได้บันทึกบทบาทของนักวิจารณ์กลุ่มอนุรักษนิยม ที่มุ่งธ ารงวรรณคดี
                โบราณของไทยไว้เป็นหลัก








                       5
                         นักวิจารณ์กลุ่มอนุรักษนิยม คือ “นักวิจารณ์ที่ให้ความสนใจในวรรณคดี
                โบราณของไทยและใช้แนววิจารณ์แบบประเพณีที่นิยมกันมา” (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์,
                2532: 87) และ “เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางภาษาและวรรณคดี” (ธัญญา สังขพันธานนท์,
                2529: 75)
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95