Page 88 -
P. 88
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 77
ฉันทลักษณ์ตามแนวทางของวรรณคดีสโมสร ทั้งนี้เพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่อง
พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ว่าทรงมีพระปรีชาสามารถในทางกวี อาทิ
เช่น บทวิจารณ์เรื่อง “ไกรทอง” ของสามศร ปรากฏในวารสารวงวรรณคดีเล่มที่ 7
ประจ าเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 โดยได้น าพระราชนิพนธ์เรื่องไกรทอง ของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาวิจารณ์ว่า ตอนนางวิมาลาตามไกรทอง
มาจากถ้ าและตอนไกรทองตามนางวิมาลากลับไปถ้ า เป็นสองตอนที่แสดงให้เห็น
ว่าเจ้านายสามารถแต่งกลอนให้เป็นส านวนชาวบ้านได้ดีไม่แพ้ส านวนของสุนทรภู่
ซึ่งนอกจากจะเลือกตอนได้เหมาะสมแล้ว ก็ยังใช้ถ้อยค าได้เหมาะสมอีกด้วย
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกวี
แท้ ไม่เพียงแต่แต่งเรื่องคนชั้นสูงได้ดี ก็ยังแต่งเรื่องคนชั้นต่ าได้ดีไม่แพ้กัน ดังบท
วิจารณ์ตอนหนึ่งว่า “เมื่อได้พิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่าทรงเลือกตอนที่เหมาะ
และคมคาย ถ้อยค าที่ทรงใช้ทุกตอนก็เหมาะแก่ตัวละครในเรื่องอย่างหาที่ติมิได้
เรื่องไกรทองนี้เป็นเรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อแสดงฝีปากชาวตลาด ฉะนั้นจึง
มีแต่คารมที่โต้กันอย่างเผ็ดร้อนมาตั้งแต่ต้น เพื่อพิสูจน์ว่ามิใช่ทรงแต่งได้แต่เรื่อง
ของคนชนชั้นสูงเท่านั้น แม้แต่เรื่องของคนชั้นต่ าก็แต่งได้ดีเช่นเดียวกัน” (สามศร,
2489: 20–27)
นอกจากนี้นักวิจารณ์ของวงวรรณคดียังมีการโต้แย้งหรือแก้ข้อกล่าวหา
ให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก บทวิจารณ์เรื่อง “เจ้าแห่ง
บทละครร า” ของศิวะศริยานนท์ ปรากฏในวารสารวงวรรณคดีเล่มที่ 34
ประจ าเดือนมกราคม พ.ศ. 2492 โดยได้น าวรรณคดีเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาวิจารณ์ นอกจากจะวิจารณ์ในแนวชื่นชม
ว่าเป็นเรื่องที่แต่งดีแล้ว ยังได้โต้แย้งว่าพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ดูหมิ่น
ราษฎรชาวไทย ดังบทวิจารณ์ตอนหนึ่งว่า “การที่พระราชนิพนธ์มีข้อความเช่นนี้ ก็
มีความประสงค์จะให้เห็นว่าคนยุคนั้นมีความเป็นไปอย่างไร ไม่ใช่เป็นการเหยียด
หยามหรือหมิ่นประมาทชนชาติไทย และอีกประการหนึ่ง เรื่องอิเหนาเป็นเรื่องแขก
ถ้าถือว่ารัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องคนชั้นต่ าเลวทราม ก็ต้องหมายถึงคน
ชั้นต่ าของแขก ไฉนจะเจาะจงว่าเหยียดหยามคนไทย ดูไม่เป็นกฎของตรรกวิทยา