Page 129 -
P. 129

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          118  วารสารมนุษยศาสตร์

          เป็นการวิเคราะห์วิจารณ์ตามหลักวิชาการ และเป็นเพียงการแสดงทัศนะเกี่ยวกับ
          ปัญหาในการใช้ตัวพิมพ์ตามหลักวิชาเท่านั้น เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ของการใช้
          ตัวพิมพ์ที่มีต่อสังคมในปัจจุบัน รวมถึงแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางการ

          ออกแบบรูปลักษณ์ตัวพิมพ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อผู้อ่านได้เข้าใจถึงปัญหาและ
          ข้อจ ากัดของแบบตัวพิมพ์ในปัจจุบัน และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการ
          น าไปปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไปในอนาคต

          2. เอกลักษณ์ที่ส ำคัญของตัวพิมพ์ไทย: สิ่งที่เชื่อมโยงควำมชัดเจน

                 ตัวพิมพ์ไทยพัฒนามาจากตัวอักษรที่เกิดจากการวาดเส้นด้วยมือ
          ส่วนประกอบพื้นฐานจึงเป็น “เส้น” ซึ่งมีวิธีการลากมากมายหลายแบบและมีชื่อเรียก
          ต่างๆ กัน เช่น หัว, หัวขมวด, หัวหยัก, หัวออก, หัวเข้า, หาง, ขมวด, เส้นพื้น, ขา,
          เส้นตั้งหรือเส้นนอน ส่วนประกอบพื้นฐานเหล่านี้ประกอบกันเข้าเป็นรูปลักษณ์
          เฉพาะอย่าง การวางต าแหน่งที่สลับสับเปลี่ยนกันไปมาของส่วนประกอบเหล่านี้ก่อ

          ให้ตัวอักษรตัวหนึ่งๆ ที่มีความแตกต่างกับตัวอื่นๆ ในชุดตัวพิมพ์เดียวกัน (ประชา
          สุวีรานนท์, 2545: 24)

                 ปริญญา โรจน์อารยานนท์ (2549: น.6) ได้อธิบายลักษณะเด่นที่ส าคัญ 6
          ประการของอักษรไทยว่าประกอบด้วย 1) หัว, 2) หาง, 3) เส้นขมวดม้วน, 4) เส้นหยัก,
          5) ปาก, และ 6) เส้นสะบัด ดังรายละเอียดคือ

                 1)  หัว แยกออกเป็น 3  ลักษณะ ได้แก่ หัวกลมธรรมดา, หัวม้วน, และ

                    หัวขยัก  —  หัวกลมธรรมดา ท าหน้าที่แยกแยะตัวอักษรหนึ่งออก
                    จากกัน โดยอาศัยการหันหัวไปคนด้าน เช่น พ-ผ, ด-ค และ ภ-ถ
                    เป็นต้น  หัวม้วน เป็นหัวที่ท าหน้าที่ช่วยแยกตัวอักษรให้ต่างจาก
                    ตัวอักษรที่มีหัวกลมธรรมดา เช่น บ-ข หัวม้วนของ ข คือลักษณะ
                    เด่นที่แยก ข ออกจาก บ  หัวหยัก ใช้แยกแยะตัวอักษรที่ดูคล้ายกัน

                    โดยวิธีเปลี่ยนหัวกลมธรรมดาและหัวม้วนให้เป็นหัวหยัก เช่น ม-ฆ,
                    ท-ฑ, และ ข-ฃ เป็นต้น
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134