Page 125 -
P. 125

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          114  วารสารมนุษยศาสตร์

          กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์, กราฟิกบนหน้าจอ, และกราฟิกสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา
          พบว่า การใช้แบบตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมันในฐานะตัวพิมพ์เนื้อหา โดยใช้ในขนาด
          เล็ก ประกอบกับการจัดแนวตัวพิมพ์แบบเสมอหน้า-หลัง ถือเป็นการใช้ตัวพิมพ์ที่

          ผิดหลักการเพื่อการอ่าน ส่งผลต่อประจักษภาพและการอ่านเข้าใจ ทั้งนี้เมื่อ
          วิเคราะห์ถึงสาเหตุการน าแบบตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมันไปใช้งานในเนื้อหา พบว่า
          มีสาเหตุส าคัญ 4 ประการ คือ 1) ความรู้สึกว่าทันสมัยและการนิยมใช้ตามๆ กัน
          เพราะตัวพิมพ์ดังกล่าวดัดแปลงมาจากตัวอักษรโรมัน และถูกให้ความหมายว่า
          ทันสมัยกว่าตัวพิมพ์ไทยมาตรฐานซึ่งถูกให้ความหมายว่าเป็นไทย และถูกมองว่าล้า
          หลัง 2) ข้อจ ากัดและอิทธิพลทางธุรกิจ โดยเฉพาะสื่อโฆษณาสินค้าต่างๆ ที่มีการ

          ก ากับควบคุมทิศทางอัตลักษณ์แบรนด์ ซึ่งอาจถูกก าหนดมาจากบริษัทแม่ใน
          ต่างประเทศและเปลี่ยนแปลงได้ยาก 3) จงใจใช้เพื่อไม่อยากให้อ่าน เป็นการอ าพราง
          ข้อมูลต่อผู้บริโภค จะปรากฏชัดเจนในกรณีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการของ
          สินค้า หรือข้อตกลง/เงื่อนไขในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ที่มักจะใช้ตัวพิมพ์ไทย
          เสมือนโรมันในขนาดเล็ก จัดวางแบบมีความยาวบรรทัดมากเกินไปส่งผลท าให้

          ผู้บริโภคไม่อยากอ่านข้อมูลดังกล่าว ซึ่งผู้ศึกษามองว่าเป็นประเด็นทางจริยธรรม
          ทางการออกแบบที่ส าคัญของนักออกแบบที่ควรค านึงถึง 4) แนวคิดหัวก้าวหน้าและ
          ความเชื่อ เป็นกลุ่มที่มองว่าตัวพิมพ์ที่มีอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากใช้แบบ
          ตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมันอย่างต่อเนื่อง คนจะคุ้นชินและสามารถอ่านได้เอง ทั้งนี้
          ผู้ศึกษามองว่าเป็นประเด็นที่ต้องมีการพิสูจน์เชิงประจักษ์ผ่านกระบวนการ
          ศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบสืบไป


          Abstract
                 The  objectives  of  this  assignment  are  to  introduce  the  primary
          observations of using a roman-like Thai typeface, specifically the roman-like

          type face known as “Sans serif” and its effects on legibility and readability in
          various types of communication. This can be applied to opening the debate in
          order to  develop  a broad  theory  on  the development  of  typography  and
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130