Page 133 -
P. 133
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
122 วารสารมนุษยศาสตร์
ภาพที่ 9 เส้นสะบัดของตัว ธ, ร, โ, และ ฐ
3. ประเภทของตัวพิมพ์กับควำมชัดเจน
การเข้าใจสาระในเรื่องของความชัดเจนของอักษรไทย นอกจากจะต้อง
เข้าใจเรื่องเอกลักษณ์ส าคัญของตัวพิมพ์ไทยแล้ว ยังต้องเข้าใจในประเภทของ
ตัวพิมพ์ที่จ าแนกตามการน าไปใช้งานด้วย ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความ
ชัดเจนของแบบตัวพิมพ์
3.1 ประเภทของตัวพิมพ์
ส าหรับประเภทของตัวพิมพ์ (type category) ปริญญา โรจน์อารยานนท์
(2543: 35) ได้แบ่งประเภทของตัวพิมพ์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานไว้ 2 ประเภท
คือ
1) ตัวเนื้อหา (body text)
หมายถึง ตัวพิมพ์ที่ใช้พิมพ์เป็นเนื้อหา (text) ใช้พิมพ์ในขนาด
ที่เล็ก เช่น 10, 12, 14 พอยต์ แล้วอ่านง่าย ลักษณะเด่นของตัวเนื้อหานี้คือ มีหัว
3
กลม และเป็นไปตามมาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย (ส่วนตัวพิมพ์ใน
ภาษาอังกฤษนั้น ตัวพิมพ์ที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวเนื้อหาก็คือตัวที่มีเซอริฟหรือเชิง
4
ฐาน [serif])
3
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย ของ
ราชบัณฑิตยสถาน (2540)
4
ปัจจุบันตัวพิมพ์แบบแซนส์เซอริฟ (sans serif) ถูกยอมรับมากขึ้นในลักษณะ
การน าไปใช้พิมพ์เป็นตัวเนื้อหา (body text)