Page 136 -
P. 136
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 125
อ้างถึงไปยังแบบ (design) ที่เป็นอยู่ของแบบตัวพิมพ์ (typefaces) ในขณะที่การ
อ่านเข้าใจอ้างถึงไปยังแบบตัวพิมพ์ที่ถูกจัดวาง (ถูกใช้งาน) ว่าเป็นอย่างไร (Strizver,
2006: 59) อย่างไรก็ตาม สามารถแยกอธิบายลักษณะส าคัญของทั้งสองค าได้ดังนี้
“ประจักษภาพ” ของแบบตัวพิมพ์ถูกเกี่ยวข้องกับลักษณะพิเศษโดย
ธรรมชาติในแบบ ประกอบด้วยขนาดของแอ่ง (counter), ความสูงเอ็กซ์ (x-height),
รูปร่างของตัวอักษร (character shapes), ความเปรียบต่างของเส้นในรูปอักษร
(stroke contrast), เซอริฟ (serif) และน้ าหนักความหนา-บาง (weight) ทั้งหมดมี
ความสัมพันธ์เพื่อความให้สามารถจ าแนกแยกแยะตัวอักษรหนึ่งๆ ออกจากตัวอื่นๆ
ในกลุ่ม ทั้งนี้ แบบตัวอักษรทั้งหมดก็ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่ออ่านออกเพียงอย่าง
เดียว นี่คือข้อควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง ส าหรับการออกแบบตัวเนื้อหา (text
design) ที่ระดับของประจักษภาพสัมพันธ์โดยตรงต่อการตรึงความสนใจของผู้อ่าน
กับเนื้อความ การออกแบบโดยใช้ตัวตกแต่ง (display design) ถูกใช้โดยทั่วไป
ส าหรับค าสั้นๆ ในขนาดตัวพิมพ์ที่ใหญ่ (ใหญ่กว่าการใช้ตัวเนื้อหา) ซึ่งมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นได้ชัดในทันทีและเพื่อถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกทาง
บุคลิก ดังนั้น ประจักษภาพจึงไม่น่าจะมีความส าคัญมากนัก (Strizver, 2006: 59)
“การอ่านเข้าใจ” นั้นมีความสัมพันธ์กับการจัดตัวพิมพ์ ปัจจัยที่มี
ผลกระทบต่อการอ่านเข้าใจของตัวพิมพ์ ประกอบด้วย: ขนาดตัวพิมพ์ (type size),
ระยะบรรทัด (leading), ความยาวบรรทัด (line length) การจัดแนวบรรทัด
(alignment) ระยะห่างระหว่างตัวอักษร (letter spacing) และระยะห่างระหว่างค า
(word spacing) ฉะนั้น จึงอาจเป็นไปได้ว่าแบบตัวพิมพ์ที่มีประจักษภาพสูง
(legible typeface) สามารถที่จะท าให้อ่านไม่เข้าใจได้ (unreadable) ด้วยการจัด
ตัวพิมพ์ ในขณะที่แบบตัวพิมพ์ประจักษภาพต่ า (poor legibilty) สามารถที่จะท าให้
อ่านเข้าใจได้มากขึ้น หากมีการเอาใจใส่ (Strizver, 2006: 60)