Page 141 -
P. 141

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          130  วารสารมนุษยศาสตร์

          5. ประจักษภำพของแบบตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมันชนิดแซนส์เซอริฟ
                 ด้วยเหตุผลที่ต้องการสร้างความกลมกลืนของชุดภาษาไทย ให้เข้ากับชุด

          โรมันต้นแบบมากเกินไปท าให้เกิดความสับสนข้ามภาษาขึ้น การใช้งานจึงต้อง
          ระมัดระวังในเรื่องประจักษภาพที่มีผลต่อการอ่านเข้าใจ เพราะอย่าลืมว่าก าลัง
          ออกแบบรูปอักษรภาษาไทยอยู่ จึงต้องใส่ใจและระมัดระวังเป็นอย่างมาก ลักษณะ
          ของการสับสนนี้มักจะสังเกตได้จากคู่อักษรดังนี้: พ-w, ร-s, บ-U, ท-n, ห-K











          ภาพที่ 15 ตัวอย่างรูปอักษรที่มักจะก่อให้เกิดความสับสนระหว่างอักษรไทยและอักษร
                  โรมัน  ในภาพเป็นรูปอักษรของตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมัน ของตัวพิมพ์ชุด
                  PSL Kittithada (แถวบน), DB Adman (แถวกลาง), และ DB Ozone (แถวล่าง)

                 ในการน าตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมันไปใช้งานในลักษณะของตัวตกแต่ง
          (หรือตัวพาดหัว) ไม่เพียงแต่ต้องพิจารณาในเรื่องของขนาดตัวพิมพ์ที่ใช้ (point
          size) แต่อาจจะต้องพิจารณาในเรื่องค าที่ใช้ด้วยว่าพิมพ์ค านั้นแล้วเลือกใช้ตัวพิมพ์
          ไทยเสมือนโรมันใดแล้วจะเกิดปัญหาในการอ่านหรือไม่





                    ภาพที่ 16 คู่สับสนข้ามภาษาของตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมัน

                 ความสับสนด้านภาษาจะเกิดขึ้นเมื่อตัวสับสนดังกล่าวมารวมกันเป็นค า

          ในตัวอย่างภาพที่ 16 แสดงการพบกันของอักษรกลุ่มสับสน ได้แก่ ค าว่า “พ.ร.บ”
          ซึ่ง อาจท าให้สับสนและอ่านเป็น “W.S.U.” ได้ (Washington State University), ค า
          ว่า “ทน” อาจท าให้สับสนและอ่านเป็น “nu”  (Naresuan  University), ค าว่า “ทบ”
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146