Page 146 -
P. 146
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 135
“เนื้อหาบริบทและกลุ่มผู้อ่าน” ความจริงค าศัพท์อื่นๆ ที่ประกอบเป็น
ประโยคหรือทั้งย่อหน้า จะช่วยให้เข้าใจความหมายหรือสาระของเนื้อความได้โดย
ไม่ยาก หากเป็นเนื้อหาที่ผู้อ่านพอมีฐานความรู้อยู่เบื้องต้นหรือมีความรู้ดีอยู่แล้ว
หรือหากเป็นกลุ่มผู้อ่านเฉพาะส าหรับเนื้อหานั้น ก็สามารถท าให้เกิดความเข้าใจต่อ
เนื้อหาได้เช่นกัน แต่ทั้งหมดก็ไม่สามารถรับประกันผลลัพท์ของการอ่านได้แม่นย า
เพราะปัจจัยทั้งการคุ้นชินกับรูปค า และเนื้อหาบริบทและกลุ่มผู้อ่านนั้น จัดเป็นตัว
แปรที่ควบคุมได้ยาก โดยเฉพาะผู้อ่านที่มีความหลากหลายหรือแตกต่างสูงทั้ง
ทักษะการอ่าน พื้นความรู้ และสมรรถนทัศนะ (visibility) แม้จะอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้อ่านกลุ่มเดียวกัน
6. กระแสกำรใช้แบบตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมันและทัศนะ
แม้ว่าตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมันนี้จะอยู่ในสถานะของตัวพิมพ์ตกแต่ง แต่
ในปัจจุบัน ในสื่อต่างๆ ตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมันได้ถูกน าไปใช้ในฐานะตัวเนื้อหา
ทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์, สื่อโฆษณา, สื่อโทรทัศน์, บรรจุภัณฑ์, สื่อสิ่งแวดล้อม, และอื่นๆ
ซึ่งเป็นการใช้ตัวพิมพ์ที่ผิดประเภท
งานแผ่นพับโฆษณาขนาด A5 ของบริษัทให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์
แห่งหนึ่ง ซึ่งมีการใช้ตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมันชนิดแซนส์เซอริฟทั้งงาน นอกจากจะ
มีการเลือกแบบตัวพิมพ์ที่ไม่เหมาะสมแล้ว เนื่องจากเป็นลักษณะของเนื้อหา (text)
ยังมีการใช้ขนาดตัวพิมพ์ในขนาดเล็กเกินไป (ตามขนาดจริงที่เห็นในภาพที่ 22)
รวมถึงการจัดแนวตัวพิมพ์แบบเสมอหน้า-หลัง (justified) ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมด
ส่งผลต่อประจักษภาพและการอ่านเข้าใจแทบทั้งสิ้น ท าให้มีความล าบากในการ
อ่านเป็นอย่างมาก จนไม่อยากอ่านในที่สุด ลักษณะแบบนี้จะมีผลต่อบุคคลที่มี
ปัญหาทางสายตา เช่น สายตาสั้นหรือเอียง รวมถึงผู้สูงอายุ