Page 135 -
P. 135
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
124 วารสารมนุษยศาสตร์
3.2 ความชัดเจน: ประจักษภาพและการอ่านเข้าใจ
ความชัดเจนในแง่การรับรู้และการอ่านตัวพิมพ์ในความเข้าใจของผู้เขียน
นั้น หมายรวมถึงทั้งในเรื่องของประจักษภาพและการอ่านเข้าใจ ซึ่งทั้งสองเรื่องมี
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด
ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องศิลปะการใช้ตัวพิมพ์มักจะอยู่ในกลุ่มที่ศึกษาการ
ออกแบบและการประยุกต์ใช้งานเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีผู้สนใจหลากหลายสาขา
อาชีพมากขึ้น เช่น นักคณิตศาสตร์ นักออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์
นักจิตวิทยาและนักปรัชญาต่างสนใจเขียนงานและศึกษาเกี่ยวกับสัณฐานตัวอักษร
(letterforms) และการออกแบบ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของสภาวะนั้นๆ ของมนุษย์
นักจิตวิทยาใช้ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์เชื่อมโยงระหว่างสัญลักษณ์อักษรและการ
ตีความ นักปรัชญาศึกษาบทบาทของศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ในฐานะตัวแทนภาษา
เหล่านี้ท าให้นักออกแบบจัดวางตัวพิมพ์ (typographer) เกิดความตระหนักในการ
ใช้งานและศักยภาพในการสื่อสารของแบบตัวพิมพ์ มีการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับประ
จักษภาพหลายครั้งในรอบศตวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานของ เซอร์ ไซ
ริล เบิร์ท, ไมลส์ ทิงเกอร์, และจี ดับเบิลยู โอวิงค์ ถึงแม้งานเหล่านี้จะไม่เป็นที่รู้จัก
ในหมู่นักออกแบบจัดวางตัวพิมพ์โดยตรง แต่ผลการศึกษายังมีคุณค่า เนื่องจาก
กล่าวถึงการออกแบบที่ดีและความรู้จ าเป็นทั่วไปในการออกแบบ ในช่วงปลายยุค 1960
เฮอร์เบิร์ท สเปนเซอร์ ได้สร้างโปรแกรมศึกษาวิชานี้อย่างมั่นคง และผลงานของเขา
เกือบทั้งหมดนั้นเกี่ยวข้องกับการออกแบบมากกว่าเชิงจิตวิทยา (Jury, 2004: 56)
แม้ประจักษภาพและการอ่านเข้าใจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด แต่ก็
ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ประจักษภาพส่งผลต่อการการอ่านเข้าใจ แต่การจะเข้าใจว่าสอง
อย่างนี้มีอิทธิพลต่อกันอย่างไร จ าเป็นต้องศึกษาแต่ละประการแยกกัน (Jury, 2004:
56)
เรามักจะได้ยินค าว่า “legible” และ “readable” อยู่บ่อยครั้ง แม้ว่าทั้งสองค า
จะมีความสัมพันธ์เพื่อความสะดวกและความชัดเจนด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องในการอ่าน
ตัวพิมพ์ พวกมันอ้างถึงความเป็นจริงในสิ่งที่แตกต่างกัน 2 อย่างคือ ประจักษภาพ