Page 177 -
P. 177

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





              ซินเดอเรลล่า  นอกจากนี้ยังมีการสร้างคุณสมบัติด้านบวกให้กับตนเองคือ  ทั้งสวยและฉลาด  เพื่อเอาชนะ

              น้องสาวที่ฉลาดแต่อัปลักษณ์ ในเรื่อง ริเก้ต์หัวหงอนไก่

                       จากความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวดังกล่าวท�าให้เห็นว่าผู้เขียนใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์

              ในการศึกษานิทานของแปร์โรต์ โดยเน้นไปที่ปมเอดิปัส ซึ่งหมายถึงความปรารถนาทางเพศของมนุษย์ต่อ
              พ่อหรือแม่ของตน จนอยากจะก�าจัดพ่อหรือแม่ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความรักดังกล่าว หรือการที่พ่อหรือ

              แม่แสดงความพึงพอใจต่อลูกที่เป็นเพศตรงข้ามมากกว่าเพศเดียวกัน และยังขยายขอบเขตไปสู่การตีความ
              ความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้องที่กลัวจะถูกแย่งชิงความรักของพ่อและแม่ไปจากตน จนเกิดความรู้สึกอยาก

              จะก�าจัดพี่หรือน้องได้อีกด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าสมาชิกในครอบครัวที่มีเพศตรงข้ามกันมักมีความปรารถนา
              ทางเพศต่อกัน ส่วนสมาชิกในครอบครัวที่มีเพศเดียวกันมักเกิดความปรารถนาที่จะก�าจัดกัน ทฤษฎีนี้จึงมี

              ความส�าคัญในอันที่จะท�าให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานทางจิตใจของมนุษย์  ซึ่งจะน�าไปสู่การเลือกใช้ชีวิตใน
              สังคมได้อย่างเหมาะสม หนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นการตีแผ่สิ่งเหล่านี้ออกไปในวงกว้าง

                       จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการศึกษาวิเคราะห์ในหนังสือเล่มนี้ถือเป็นการเปิดอารมณ์เบื้องลึกใน

              จิตใจของมนุษย์ที่แฝงเร้นอยู่ในนิทานซึ่งพ่อแม่หรือครูเล่าให้เด็กๆ  ฟัง  จึงน่าสนใจในการอภิปรายต่อว่า
              เหตุใดปมเรื่องเพศและความรุนแรงเหล่านี้จึงแฝงอยู่ในนิทานที่ว่ากันว่าเป็นของส�าหรับเด็ก  หรืออาจเป็น

              เพราะเด็กเองที่เป็นผู้ผลักดันให้เกิดปมเหล่านี้ในนิทาน  เนื่องจากปมเหล่านี้มีอยู่ในจิตไร้ส�านึกของมนุษย์
              ตั้งแต่แรกเกิด  ผู้ประพันธ์นิทานเคยผ่านชีวิตในวัยเด็กมาก่อนจึงเข้าใจจิตใจของเด็กทั่วโลกว่าคงจะมีปม

              เหล่านี้ติดอยู่ในใจแต่ไม่สามารถหาทางออกได้ จึงแต่งนิทานที่แฝงความรุนแรงระหว่างสมาชิกในครอบครัว
              ขึ้น เพื่อให้เด็กรู้สึกว่ามีทางออก หรือสามารถระบายอารมณ์ความรู้สึกต่อสมาชิกในครอบครัวได้ อย่างน้อย

              ก็ในนิทานที่พวกเขาฟังหรืออ่านอยู่  มิใช่ต้องอดทนอดกลั้นอยู่กับปมที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกในครอบครัวอยู่
              ร�่าไป  ถึงแม้เด็กอาจจะยังไม่รู้ว่าปมเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทั่วโลกและฝังอยู่ในจิตไร้ส�านึกของ

              ตนแล้ว  แต่นิทานก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยระบายความกลัดกลุ้มของพวกเขาให้ผ่อนคลายจากปมในจิตใจ
              เหล่านี้  ทั้งยังเป็นการเตรียมการหรือบอกล่วงหน้าให้เด็กได้รู้ว่าปมเหล่านี้เกิดขึ้นจริงอย่างน้อยก็ในนิทาน

              ที่พวกเขาคลุกคลีอยู่

                       จากค�าน�าของผู้เขียนที่ว่า “ในเมืองไทยยังไม่มีงานวิชาการเกี่ยวกับนิทานแปร์โรต์และการศึกษา

              นิทานแนวจิตวิเคราะห์ออกมาเลย” (พิริยะดิศ มานิตย์, 2553: ค�าน�า) นั้น แสดงให้เห็นว่าหนังสือเล่มนี้ถือ
              เป็นการบุกเบิกการวิเคราะห์นิทานแปร์โรต์โดยใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์  ซึ่งเป็นประโยชน์ในแวดวงการศึกษา

              ด้านภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก  เมื่อพิจารณาในแวดวงการศึกษาวรรณกรรมไทยก็พบว่ามี
              การน�าทฤษฎีจิตวิเคราะห์ไปใช้ศึกษาวิเคราะห์นิทานไทยอยู่ไม่น้อย กล่าวโดยล�าดับได้ดังนี้







                                                          วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554  169
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182