Page 174 -
P. 174

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





            ในเชิงสัญลักษณ์ว่าลูกสาวพยายามเก็บกดความรู้สึกเช่นเดียวกับพ่อไว้ โดยการแต่งงานกับผู้อื่นในตอนท้าย

            รวมทั้งการตีความวัตถุต่างๆ ในเรื่องว่าสื่อถึงความต้องการทางเพศของพ่อกับลูกสาว หรือแม่กับลูกชายไว้
            อย่างน่าสนใจ


                     ใน บทที่ 2 ลูกชาย พ่อ และปมปิตุฆาต เป็นการกล่าวถึงความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ของลูกชายที่
            มีต่อผู้เป็นพ่อ  ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของปมเอดิปัส  เหตุการณ์ที่พ่อกับลูกชายขัดแย้งกันเกิดขึ้นอยู่เสมอ

            ในนิทานแปร์โรต์ นิทานแปร์โรต์ที่ผู้เขียนยกมาเป็นกรณีศึกษาคือ เรื่องเจ้าตัวเล็กและแมวใส่บู๊ต ซึ่งมีทั้งที่
            สะท้อนปมเอดิปัสอย่างตรงไปตรงมาและการกล่าวถึงในเชิงสัญลักษณ์

                     ในนิทานเรื่อง  แมวใส่บู๊ต  กล่าวถึงปมเอดิปัสในเชิงสัญลักษณ์ผ่านตัวแทนคือ  แมว  (ตัวแทน

            ของลูกชาย)  กับ  เจ้าของ  (ตัวแทนของพ่อ)  ซึ่งเป็นลูกชายคนเล็กของเจ้าของโรงสีที่ได้รับมรดกเป็นแมว
            จากพ่อ จึงคิดจะกินแมวตั้งแต่แรก แต่แมวอาสาจะช่วยให้เจ้านายของมันได้ดี มันจึงรอดชีวิตและช่วยให้

            เจ้านายได้แต่งงานกับเจ้าหญิงในที่สุด

                     ในเรื่องนี้ ตัวเอกคือแมวเป็นภาพแทนของชายที่มีปมปิตุฆาต ผู้เขียนกล่าวว่านิทานเรื่องนี้มีโครง

            เรื่องคล้ายกับเรื่อง เจ้าตัวเล็ก กล่าวคือ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับแมวมีลักษณะคล้ายพ่อและลูกชาย
            ตัวละครพ่อของทั้งสองเรื่องมีความคิดจะฆ่าสมบัติหรือลูกของตัวเองเช่นเดียวกัน ทั้งจากการน�าไปปล่อยไว้

            ในป่าในเรื่อง เจ้าตัวเล็ก และการที่เจ้านายจะกินแมวของตนในเรื่อง แมวใส่บู๊ต นอกจากนี้ตัวละครลูกทั้ง
            สองเรื่องยังเอาตัวรอดจากการจะถูกพ่อฆ่าด้วยความเฉลียวฉลาดของตน  และยังตอบแทนพ่อด้วยการคืน

            หนี้ชีวิตหรือท�าให้พ่อกลายเป็นคนมั่งคั่งได้ทั้งสองเรื่อง  จึงสามารถสรุปได้ว่าเรื่องนี้แมวต้องการปลดแอก
            ของความเป็นลูกชายจากพ่อหรือเจ้านายนั่นเอง

                     บทที่  2  เป็นการพยายามแสดงให้เห็นว่านิทานแปร์โรต์แฝงปมเอดิปัสระหว่างพ่อกับลูกชายที่

            ต้องการจ�ากัดซึ่งกันและกันผ่านการเอาชีวิตหรือการตอกกลับด้วยทรัพย์สินเงินทอง  ซึ่งเป็นการแข่งขันกัน
            ในเชิงอ�านาจของเพศชายนั่นเอง


                     บทที่ 3 ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างแม่กับลูกสาว กล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงปฏิปักษ์ระหว่างแม่กับ
            ลูกสาว ผ่านนิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดง และ นางฟ้า ผู้เขียนปูพื้นด้วยทฤษฎีของฟรอยด์ที่ว่า เด็กมักจะ

            รักผู้ปกครองเพศตรงข้าม  แต่เป็นปฏิปักษ์กับผู้ปกครองเพศเดียวกัน  โดยยกนิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดง
            มาตีความในเชิงสัญลักษณ์  นิทานเรื่องนี้กล่าวถึงแม่ที่ให้หนูน้อยหมวกแดงไปหายาย  ระหว่างทางเธอพบ

            หมาป่าที่หลอกถามทางไปบ้านยาย หมาป่ากินยายและรอหนูน้อยอยู่บนเตียง หนูน้อยถอดเสื้อผ้าก่อนขึ้น
            ไปบนเตียงและถูกหมาป่ากิน







           166  วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179