Page 175 -
P. 175

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





                       ในเรื่องนี้ตัวละครและพฤติกรรมต่างๆ ในเรื่องล้วนมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ กล่าวคือ หมาป่า

              แทนสัญชาตญาณดิบ  ความต้องการทางเพศของผู้ชาย  หรือความก�าหนัดที่จะครอบครองผู้หญิง  ฉากที่
              หมาป่าชวนหนูน้อยขึ้นเตียงก็สื่อถึงความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายกับหญิง  นอกจากนี้ค�าถามของหนู

              น้อยหมวกแดงเกี่ยวกับการกอดและฟันของหมาป่าก็สื่อถึงสัญลักษณ์ทางเพศของการร่วมเพศนั่นเอง  และ
              การที่เรื่องจบลงด้วยความตายของตัวละครต่างๆ ก็ยิ่งสื่อถึงความรุนแรงของการร่วมเพศ จนถึงกับมีผู้กล่าว

              ว่าหมาป่าข่มขืนหนูน้อยหมวกแดง

                       การสื่อถึงปมเอดิปัสโดยตรงก็ปรากฏในนิทานแปร์โรต์เรื่องนี้ผ่านพฤติกรรมของตัวละครหญิงทั้ง

              สามตัว เห็นได้จาก หนูน้อยหมวกแดงฉบับอื่นๆ ผู้เป็นแม่จะเตือนไม่ให้หนูน้อยหมวกแดงคุยกับคนแปลก
              หน้าหรือมัวแต่เถลไถลอยู่ แต่ฉบับของแปร์โรต์ผู้เป็นแม่กลับไม่เตือนลูกสาวเลย สื่อได้ว่านอกจากจงใจจะ

              ฆ่าลูกสาวของตนแล้วยังต้องการฆ่ายายของหนูน้อยหมวกแดงหรือแม่ของตนด้วย  ยายเองก็ท�าหมวกแดง
              ให้หลานจนดึงดูดนักข่มขืน หนูน้อยหมวกแดงเองก็มีส่วนต่อความตายของเธอและยายในฉากขึ้นเตียง ถึง

              แม้เธอจะไร้เดียงสาแต่ก็ส่อพฤติกรรมบางอย่างที่แสดงความปรารถนาจะเป็นเหยื่อ กล่าวคือ เธอขึ้นเตียง
              กอดแขนหมาป่าโดยไม่ขัดขืนแม้แต่น้อย นิทานเรื่องนี้จึงแสดงให้เห็นว่าตัวละครหญิงในสายเลือดเดียวกัน

              น�าความตายมาสู่กันและกัน โดยมีหมาป่าเป็นสื่อกลางในการท�าลายล้างนั่นเอง

                       ภาพรวมของบทนี้จะสื่อถึงปมมาตุฆาตที่ปรากฏอยู่ในนิทานแปร์โรต์  ตัวละครหญิงในนิทานจะ
              เลือกแสดงพฤติกรรมต่างกันไป อาจเป็นการมุ่งร้ายโดยตรงหรือมุ่งร้ายในเชิงสัญลักษณ์ แต่จุดมุ่งหมายที่

              ตรงกันคือต้องการน�าความหายนะมาสู่แม่หรือลูกที่เป็นสายเลือดเดียวกัน

                       บทที่ 4 ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างพี่-น้อง กล่าวถึงปัญหาระหว่างพี่กับน้อง ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่ง

              ของปมเอดิปัส แม้ปัญหาดังกล่าวจะสะท้อนผ่านนิทานโดยตรงแต่ก็มีการใช้สัญลักษณ์ในเรื่องอยู่หลายแห่ง
              ในที่นี้ผู้เขียนได้ยกนิทานเรื่องซินเดอเรลล่า และริเก้ต์หัวหงอนไก่ มาอภิปรายเป็นกรณีศึกษา ความน่าสนใจ

              อยู่ที่นิทานเรื่อง ซินเดอเรลล่า ซึ่งกล่าวถึงเด็กผู้หญิงที่ถูกแม่เลี้ยงกับพี่สาวต่างพ่อต่างแม่คอยกลั่นแกล้งอยู่
              เสมอ เธอได้ไปงานเต้นร�าของเจ้าชายโดยมีนางฟ้าเป็นคนเนรมิตเครื่องแต่งกายให้ แต่จะอยู่เกินเที่ยงคืน

              ไม่ได้ วันที่สองเธอท�ารองเท้าหลุดข้างหนึ่ง เจ้าชายประกาศตามหาเจ้าของรองเท้าเพื่อแต่งงานด้วย และ
              ได้แต่งงานกันในที่สุด

                       ผู้เขียนกล่าวว่านิทานเรื่องนี้สะท้อนถึงปมเอดิปัสอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่กลัวจะถูกแย่งความรัก

              ไป  ความขัดแย้งระหว่างพี่กับน้องจึงมักเกิดจากการไม่ต้องการถูกแย่งความรักจากพ่อและแม่ไป  ซึ่งปม
              ระหว่างพี่กับน้องนี้สามารถแสดงออกทางวาจาได้มากกว่าปมรักพ่อและแม่  แต่นิทานก็หลีกเลี่ยงปัญหา

              ระหว่างพี่น้องสายเลือดเดียวกันให้กลายเป็นพี่น้องต่างพ่อต่างแม่แทน  เพื่อลดความรุนแรงและให้เป็นที่
              ยอมรับของผู้อ่านมากขึ้น




                                                          วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554  167
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180