Page 179 -
P. 179
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ่อตากับลูกเขยในสังคมไทย ซึ่งสื่อว่าพ่อตามักหวงลูกสาวหรือกีดกันความรักของชายหนุ่ม และกรณีของ
เมียยักษ์ที่สื่อถึงความสัมพันธ์ของภรรยากับสามี คือเมียน้อยหรือแม่เลี้ยง (เป็นยักษ์กับลูกเลี้ยง) และอาจ
ตีความถึงหญิงที่ตอนแรกแสร้งว่ามีกิริยางดงามแต่เมื่อโกรธก็เปลี่ยนเป็นโหดร้าย หรือหญิงที่หลงอยู่ในตัณหา
ราคะ ไม่มียางอาย และเข้าหาผู้ชายก่อนนั่นเอง ปรียารัตน์สรุปในตอนท้ายว่าอนุภาคต่างๆ ที่พบในนิทาน
ไทยเหล่านี้สื่อถึงการระบายความกดดันหรืออัดอั้นตันใจทั้งยังมีลักษณะสากลเช่นเดียวกับคนทั่วโลกอีกด้วย
นอกจากข้อมูลที่เป็นนิทานแล้วก็ยังมีการน�าทฤษฎีจิตวิเคราะห์นี้ไปใช้ในการวิจารณ์วรรณคดี
ไทย อย่างวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา
2514 เรื่อง พระอภัยมณี: การศึกษาในเชิงวรรณคดีวิจารณ์ ของสุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ (2549) ในหัวข้อ
แก่นเรื่องพระอภัยมณีที่ว่าด้วยความว้าเหว่และการขาดความอบอุ่นภายในครอบครัว และความขัดแย้งและ
การต่อสู้ระหว่างพ่อแม่กับลูก โดยการน�าทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์แนวจิตวิทยาเกี่ยวกับจิตไร้ส�านึกมาเป็น
กรอบความคิดเพื่ออธิบายที่มาและลักษณะของแก่นเรื่องเรื่องพระอภัยมณี ผู้เขียนกล่าวว่าปมเอดิปัสและ
ปมอิเลคตราเป็นสิ่งที่ใช้อธิบายแก่นเรื่องได้ เนื่องจากตัวละครเอกเกือบทุกตัวต้องประสบกับภาวะ
การพลัดพรากจากพ่อแม่พี่น้องจนแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา นอกจากนี้ยังพบว่าวรรณคดีไทยมีโครง
เรื่องที่ลูกขัดแย้งกับพ่อแม่หรือต่อสู้กับพ่อแม่ จนบางครั้งพ่อแม่เสียชีวิต แม้จะเปลี่ยนให้เป็นพ่อแม่บุญธรรม
หรือเป็นยักษ์ แต่ก็สะท้อนความต้องการเป็นอิสระของเด็กจากบิดามารดาของตน จนถึงขั้นขัดแย้งอย่าง
รุนแรง ซึ่งถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ร่วมในจิตใต้ส�านึกของมนุษย์ จากเรื่องพระอภัยมณีพบความขัดแย้ง
ระหว่างลูกชายกับพ่อ ซึ่งเป็นปมเอดิปัส และความขัดแย้งระหว่างลูกชายกับแม่คือ มังคลากับพระอภัยมณี
สินสมุทรกับนางผีเสื้อ และมังคลา วลายุดา วายุพัฒน์ หัสกันกับแม่ ซึ่งทั้งหมดล้วนสะท้อนความปรารถนา
ที่จะเป็นอิสระจากการควบคุมหรืออิทธิพลของพ่อและแม่ และด้วยวัฒนธรรมไทยจึงต้องเบี่ยงเบนความ
ขัดแย้งจากบิดามารดาแท้ๆ ไปเป็นบิดามารดาบุญธรรมซึ่งเป็นคนหรือยักษ์แทน หรืออาจสร้างเหตุผลให้
บิดามารดาทอดทิ้งบุตรไปตั้งแต่เล็ก เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับความขัดแย้งในแต่ละครั้ง
จากความนิยมในการใช้ทฤษฎีเชิงจิตวิเคราะห์เพื่อศึกษานิทานหลากหลายชาติรวมทั้งลักษณะ
ของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่มีความเป็นสากลนี้เอง ที่ส่งผลให้ทฤษฎีเชิงจิตวิเคราะห์ยังคงเป็นทฤษฎีที่มีผู้กล่าว
ถึงอยู่เสมอ และส่งผลให้การศึกษานิทานขยายขอบเขตสู่การท�าความเข้าใจจิตไร้ส�านึกของมนุษย์ในแต่ละ
ยุคสมัย จนสามารถท�าความเข้าใจพื้นฐานจิตใจของมนุษย์ได้ จิตใจของมนุษย์ไม่ว่าจะยุคใด หรือชนชาติ
ใดย่อมคล้ายคลึงกัน คือ ต้องการเป็นอิสระเหนือการควบคุมของบิดามารดา อาจถึงขั้นต้องการเป็นใหญ่
เหนือผู้ปกครอง จนแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบต่างๆ กัน นิทาน ต�านาน หรือวรรณคดีก็เป็นอีก
รูปแบบหนึ่งที่น�าเสนอความต้องการเหล่านี้ของมนุษย์ทุกเชื้อชาติ
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554 171