Page 178 -
P. 178
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชลธิรา สัตยาวัฒนา (2550) กล่าวถึงปมเอดิปัส (Oedipus complex) ไว้ในหนังสือ วิจารณ์
รื้อวิจารณ์: ต�านานวรรณคดีวิจารณ์แนวรื้อสร้างและสืบสาน ในบทที่ว่าด้วยปมอีดิพัสจากวรรณคดีไทยบาง
เรื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากวิทยานิพนธ์ระดับอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2513
ผู้เขียนกล่าวถึงปมเอดิปัสไว้ในนิทานและวรรณคดีไทย 5 เรื่อง ได้แก่ เรื่องทรพีทรพา ซึ่งเป็นเรื่องแทรกใน
รามเกียรติ์ ควายชื่อทรพีฆ่าทรพาผู้เป็นพ่อ เพื่อจะได้เป็นใหญ่เหนือควายอื่น จึงวัดรอยเท้าทรพาทุกวันและ
ขวิดทรพาจนตาย โดยไม่รู้ว่า ทรพาเป็นพ่อ เรื่องพระยากงพระยาพาน ที่พระยาพานฆ่าพระยากงผู้เป็นพ่อ
โดยไม่รู้ตัวเช่นเดียวกัน วรรณคดีเรื่องสิงหไกรภพ ก็ปรากฏปมเอดิปัสถึงสองครั้ง คือ คงคาประลัยขบถยึด
อ�านาจของท้าวอินณุมาศ ผู้เป็นบิดาบุญธรรม และสิงหไกรภพที่หนีพินทุมาร บิดาบุญธรรม จนท�าให้พินทุมาร
ตรอมใจตาย นิทานพื้นบ้านเรื่องก่องข้าวน้อย ทองฆ่าแม่จนตายเพียงเพราะความหิว และเรื่องสังข์ทอง
หรือสุวรรณสังข์ชาดก กล่าวถึงพระสังข์ที่เกลียดนางพันธุรัตน์ มารดาบุญธรรมที่เป็นยักษ์ โดยไม่รู้ตัวหรือ
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเกลียดผ่านจิตไร้ส�านึก เมื่อสังเกตได้ว่าแม่ชอบโกหกเรื่องจ�านวนวันที่จะออกนอกเมือง
และยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากที่รู้ว่าแม่ของตนเป็นยักษ์ สังเกตว่าผู้เล่านิทานหรือกวีผู้แต่งวรรณคดีเรื่อง
ต่างๆ จะถ่ายทอดปมเอดิปัสผ่านบุพการีที่เป็นบิดาหรือมารดาบุญธรรม เพื่อลดระดับความรุนแรงของการ
ท�าปิตุฆาตหรือมาตุฆาต
นิทานพื้นบ้าน ของ เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ (2548) ซึ่งใช้ประกอบการศึกษาวิชา FL 474
นิทานพื้นบ้าน (The Folktale) ของภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
รามค�าแหง ถึงแม้หนังสือเล่มนี้จะไม่ได้ศึกษานิทานเชิงจิตวิเคราะห์โดยตรง แต่ก็เป็นการกล่าวถึงแนว
วิเคราะห์เชิงจิตวิทยาโดยใช้ปมเอดิปัส ซึ่งเป็นทฤษฎีทางคติชนที่ใช้ในการศึกษานิทานได้ ผู้เขียนกล่าวถึงที่
มาของปมเอดิปัสจากโศกนาฏกรรมของกรีก และยังกล่าวถึงการมีผู้น�าปมเอดิปัสนี้ไปใช้วิเคราะห์นิทานและ
ต�านานหลายเรื่องในหลายสังคมอีกด้วย
การสมพาสที่ผิดธรรมชาติในนิทานไทย การศึกษาอนุภาคทางคติชนวิทยา ของปรียารัตน์
ชวลิตประพันธ์ (2549) ซึ่งปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะ
อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2547 ที่พยายามหาความหมายและตีความสัญลักษณ์
ที่แฝงอยู่ในนิทาน โดยใช้วิธีการทางจิตวิทยา ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้กล่าวถึงปมเอดิปัสโดยตรงแต่ก็เป็นการน�า
วิธีการทางจิตวิทยามาวิเคราะห์นิทานเพื่อให้เข้าใจจิตใต้ส�านึกของมนุษย์มากยิ่งขึ้น โดยกล่าวถึงวิธีของ
ซิกมันด์ ฟรอยด์, คาร์ล จุง, ดานซิกเกอร์และจอห์นสัน, และอีริก ฟรอมม์ เพื่อวิเคราะห์หาความหมาย
ของอนุภาคสมพาสที่ผิดธรรมชาติในนิทานไทยซึ่งพบบ่อยจนน�าไปสู่ความหมายที่สะท้อนผ่านจิตใต้ส�านึก
ร่วมบางประการของคนในสังคมไทยจ�านวน 6 อนุภาค เช่น อนุภาคคนสมพาสกับยักษ์ ซึ่งพบบ่อยที่สุด
ในนิทานไทย ปรียารัตน์ตีความ “ยักษ์” เป็น 2 กรณี คือ กรณีของพ่อตายักษ์ที่สื่อถึงความสัมพันธ์ของ
170 วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554