Page 173 -
P. 173
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างนิทานแปร์โรต์จากเรื่องที่ได้รับความนิยมหรือเป็นที่แพร่หลายประกอบ
การอธิบายเพียงบทละ 1 เรื่อง ดังนี้
บทที่ 1 พ่อ-ลูกสาว: ความปรารถนาต้องห้าม เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงปมเอดิปัสของพ่อกับลูกสาว
หรือความปรารถนาทางเพศระหว่างพ่อกับลูกสาวซึ่งปรากฏอยู่ในนิทานแปร์โรต์หลายๆ เรื่อง โดยผู้เขียนได้
ยกตัวอย่างจากนิทานแปร์โรต์จ�านวน 3 เรื่อง คือ เรื่องหนังลา เจ้าหญิงนิทรา และเคราสีน�้าเงิน
ประเด็นน่าสนใจอยู่ที่แรงปรารถนาทางเพศของพ่อที่มีต่อลูกสาวนั้นถูกกล่าวถึงทั้งโดยตรงและเชิง
สัญลักษณ์ ในนิทานเรื่องเจ้าหญิงนิทรา ซึ่งเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกก็กล่าวถึงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่าง
พ่อกับลูกสาวเช่นเดียวกัน แต่เป็นการสะท้อนผ่านสัญลักษณ์ เรื่องราวของเจ้าหญิงที่ถูกสาปให้กระสวย
ปั่นด้ายต�ามือแล้วนอนหลับไป มีเจ้าชายมาช่วยให้เจ้าหญิงพ้นค�าสาป และได้แต่งงานกับเจ้าชายนั้นเป็นที่
แพร่หลายมาก แต่ในนิทานแปร์โรต์นั้นกล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากการแต่งงานของเจ้าหญิงและเจ้าชายอีกว่า
เจ้าหญิงอยู่กินกับเจ้าชายจนมีลูกสองคน เจ้าชายฝากลูกและภรรยาไว้กับแม่ของตนที่มีเชื้อสายยักษ์ แม่ของ
เจ้าชายพยายามจะกินหลานกับลูกสะใภ้ เมื่อเจ้าชายกลับมาช่วยลูกและภรรยา แม่ก็ฆ่าตัวตายในตอนท้าย
ความน่าสนใจอยู่ที่ว่ามีการตีความกระสวยปั่นด้ายต�ามือให้เป็นสัญลักษณ์ทางเพศอย่างน้อยสอง
แนวทาง แนวทางแรกกล่าวว่าการถูกกระสวยปั่นด้ายต�ามือก็คือการมีประจ�าเดือนของเด็กผู้หญิงทุกคนเมื่อ
อายุ 15 ปี แต่เมื่อพิจารณาในฉบับของแปร์โรต์พบว่าไม่มีการกล่าวว่ามีเลือดไหลเมื่อเจ้าหญิงถูกกระสวย
ด้ายต�ามือ มีเพียงการกล่าวว่าเจ้าหญิงสลบหรือเป็นลมเท่านั้น แนวคิดแรกนี้ไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก
แนวทางที่สองกล่าวว่ากระสวยปั่นด้ายคือ การส�าเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ความรู้สึกผิด และ
ความต้องการสมสู่กับคนในสายเลือดเดียวกัน และยังกล่าวแยกทีละส่วนอีกว่านิ้วมือคือ สัญลักษณ์เพศ
ชาย การต�ามือคือ ความรู้สึกผิด และกระสวยปั่นด้ายคือ คลิตอริส ซึ่งผู้เขียนกล่าวว่าน่าสนใจและลงตัว
กับบริบทของเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการหลับของเจ้าหญิงว่าคือ การหมกมุ่นกับตัวเองจนมี
เจ้าชายเข้ามาปลุกให้ตื่น หรือก็คือการซ่อนความปรารถนาต่อพ่อไว้นั่นเอง
ส่วนตอนท้ายเรื่องเป็นการกล่าวถึงปมเอดิปัสระหว่างแม่กับลูกชายในเชิงสัญลักษณ์ กล่าวคือ
การที่ลูกชายฝากภรรยากับลูกของตนไว้กับแม่ซึ่งเป็นยักษ์นั้นเป็นความปรารถนาที่จะมอบความสุขให้แม่
ผ่านการกินตามทฤษฏีของจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับเจ้าหญิงในตอนแรกที่ปรารถนาจะมอบความ
สุขให้พ่อเช่นเดียวกัน การวิเคราะห์ปมเอดิปัสในเรื่องเจ้าหญิงนิทรานี้จึงเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของ
ผู้ให้ก�าเนิดคือ พ่อหรือแม่กับลูกที่เป็นเพศตรงข้าม
เนื้อหาของบทที่ 1 โดยรวมแสดงถึงแรงปรารถนาของผู้ให้ก�าเนิดคือ พ่อหรือแม่กับลูกซึ่งเป็นเพศ
ตรงข้ามกับตนได้อย่างชัดเจน ทั้งการกล่าวถึงพ่อที่ต้องการจะแต่งงานกับลูกสาวโดยตรง หรือการกล่าวถึง
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554 165