Page 172 -
P. 172
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นที่นิยมและมีความส�าคัญในอันที่จะท�าความเข้าใจสิ่งที่อยู่ในจิตไร้ส�านึกของมนุษย์ทั้งยังสามารถขยาย
ขอบเขตไปสู่การเข้าใจลักษณะสากลของมนุษยชาติอีกด้วย
หนังสือเรื่อง ‘ปมเอดิปัส’ ในนิทานแปร์โรต์ ของพิริยะดิศ มานิตย์ อาจารย์ประจ�าภาควิชาภาษา
ตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอีกเล่มหนึ่งที่หยิบนิทานแปร์โรต์มาตีความตาม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ แต่ที่พิเศษคือผู้เขียนกล่าวไว้ในค�าน�าว่า “ในเมืองไทยยังไม่มีงานวิชาการเกี่ยวกับนิทาน
แปร์โรต์และการศึกษานิทานแนวจิตวิเคราะห์ออกมาเลย” (พิริยะดิศ มานิตย์, 2553: ค�าน�า) การศึกษาใน
หนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นการบุกเบิกส�าหรับวงวิชาการด้านภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส
มุมมองของผู้เขียนในการตีความนิทานแปร์โรต์ด้วยทฤษฎีจิตวิเคราะห์นี้มีความน่าสนใจอยู่หลาย
ประเด็น เนื่องจากเป็นการเปิดมุมมองด้านมืดที่แฝงอยู่ในจิตใจของมนุษย์ที่แฝงอยู่ในนิทาน ส่งผลให้เรา
เข้าใจความเป็นสากลของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่ว่ามนุษย์ทุกชาติย่อมมีความต้องการหรือแรงปรารถนาใน
จิตใจใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะแรงปรารถนาที่สัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว การตีความนิทานแปร์โรต์จึงไม่
เพียงแต่สะท้อนแรงปรารถนาในจิตไร้ส�านึกของชาวต่างชาติเท่านั้น แต่สะท้อนแรงปรารถนาในจิตไร้ส�านึก
ของมนุษยชาติด้วย
หนังสือเล่มนี้เริ่มด้วยบทน�าที่กล่าวถึง ชาร์ลส์ แปร์โรต์ (Charles Perrault, 1628-1703)
ชาวฝรั่งเศสผู้ประพันธ์นิทานชื่อดังอย่าง ซินเดอเรลล่า เจ้าหญิงนิทรา และ หนูน้อยหมวกแดง ผู้เขียน
กล่าวว่านิทานทุกเรื่องล้วนมีประเด็นเรื่องเพศและความรุนแรงระหว่างบุคคลในครอบครัวเดียวกันแฝงเร้นอยู่
ซึ่งสอดคล้องกับปมเอดิปัสของซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่กล่าวถึงเพศและความรุนแรงในครอบครัวรวมทั้งแรง
ปรารถนาในใจของมนุษย์ทุกคน โดยผู้เขียนกล่าวว่าการเขียนครั้งนี้มิได้ประสงค์จะเข้าใจจิตไร้ส�านึกของ
แปร์โรต์ มุ่งแต่เพียงท�าความเข้าใจตัวบทเท่านั้น
เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วยการวิเคราะห์ปมเอดิปัสในนิทานแปร์โรต์เรื่องต่างๆ โดยเน้นที่การ
สะท้อนความปรารถนาทางเพศระหว่างบุคคลสายเลือดเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนแบ่งประเด็นความสัมพันธ์ของ
สมาชิกในครอบครัวออกเป็น 4 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกสาว ความสัมพันธ์
ระหว่างลูกชายกับพ่อ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกสาว และความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้อง โดยอธิบาย
แรงปรารถนาในจิตไร้ส�านึกของมนุษย์ผ่านนิทานแปร์โรต์ที่ยกมาเป็นกรณีศึกษาทั้งสิ้น 9 เรื่อง ได้แก่ หนังลา
เจ้าหญิงนิทรา เคราสีน�้าเงิน เจ้าตัวเล็ก แมวใส่บู๊ต หนูน้อยหมวกแดง นางฟ้า ซินเดอเรลล่า และริเก้ต์
หัวหงอนไก่ โดยแบ่งประเด็นความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวออกเป็น 4 บท บทละ 1 ประเด็น ซึ่ง
การวิเคราะห์ปมเอดิปัสในนิทานแปร์โรต์นี้ผู้เขียนพบว่ามีทั้งที่กล่าวถึงปมนี้โดยตรงและการกล่าวถึงในเชิง
สัญลักษณ์
164 วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554